การพัฒนาศักยภาพของแหล่งน้ำพุร้อนบ้านหนองเจริญ จังหวัดกาญจนบุรี สำหรับรองรับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง

ผู้แต่ง

  • ณัฎฐพัชร มณีโรจน์ คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

คำสำคัญ:

พัฒนาศักยภาพ, แหล่งน้ำพุร้อน, การท่องเที่ยวมูลค่าสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทน้ำพุร้อนธรรมชาติ วิเคราะห์ทรัพยากรการท่องเที่ยวในแหล่งน้ำพุร้อนและเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพของแหล่งน้ำพุร้อนบ้านหนองเจริญ จังหวัดกาญจนบุรีสำหรับรองรับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นการสัมภาษณ์ ประชุมกลุ่มย่อย สังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทน้ำพุร้อนธรรมชาติของกรมท่องเที่ยว เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำพุร้อนบ้านหนองเจริญ จังหวัดกาญจนบุรีและพื้นที่เชื่อมโยง ทั้งหน่วยงานภาครัฐบาล หน่วยงานภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่ รวมจำนวน 27 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1)การประเมินมาตรฐานหลักของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทน้ำพุร้อนธรรมชาติ ผ่านการประเมิน 3 เกณฑ์  2)น้ำพุร้อนบ้านหนองเจริญมีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย น้ำพุร้อนผุดขึ้นตลอดทั้งปี พื้นที่ติดริมแม่น้ำแควน้อย มีธรรมชาติที่สมบูรณ์ แหล่งน้ำพุร้อนอยู่ใกล้เคียงชุมชนชาติพันธุ์ การเข้าถึงสะดวก 3)ข้อเสนอแนะประกอบด้วย 1) พัฒนาภูมิสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์ให้สอดคล้องกับอัตลักษณะของพื้นที่ 2) พัฒนาโปรแกรม หรือกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบองค์รวม 3) ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่นำน้ำพุร้อนไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น 4) ยกระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อน สิ่งอำนวยความสะดวก ระบบความปลอดภัย 5) พัฒนาความรู้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการให้บริการ 6) ส่งเสริมการสื่อสารการตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและสร้างการรับรู้ทางการท่องเที่ยว 7) ร่วมมือกับจังหวัดสร้างตราสินค้าและ 8) สร้างความร่วมมือในจัดการท่องเที่ยวด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนที่

Author Biography

ณัฎฐพัชร มณีโรจน์, คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

 

 

 

References

กรมทรัพยากรธรณี. (2559). น้ำพุร้อนในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2564, จาก www.dmr.go.th/
main.php?filename=hotthai
กรมการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทน้ำพุร้อน-
ธรรมชาติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
ในพระบรมราชูปถัมภ์
นิพล เชื้อเมืองพานและคณะ. (2557). การพัฒนาศักยภาพของแหล่งน้ำพุร้อนในภูมิภาคตะวันตกของประเทศ
ไทยเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
(สกว.)
. (2561). ศักยภาพและขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนกลุ่มท่องเที่ยว
อารยธรรมล้านนา (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุน-การวิจัย (สกว.)
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.
รัตนะ บัวสนธ์. (2558). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วีระศักดิ์ อุดมโชคและคณะ. (2557). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว
แหล่งน้ำพุร้อนในภาคตะวันตกของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย (สกว.)
สุรพล ศรีวิทยาและคณะ. (2546). โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาบริการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุภาพในที่พัก
แรม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
อรรณพ หอมจันทร์และคณะ. (2557) การศึกษาสภาพแวดล้อม อุทกวิทยา อุทกธรณีวิทยาและคุณภาพน้ำเพื่อ
พัฒนาการท่องเที่ยวแหล่งน้ำพุร้อนในภาคตะวันตกของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ:
สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
Baptiste, I. (2001). Qualitative Data Analysis: Common Phases, Strategic Differences. 2(3),
pp.1-18.
Buhalis, D. (2000). Marketing the Competitive Destination of the Future. Tourism Management, 21(1), pp.97-116.
Cohen L. L. and Manion. L. (1994). Research Method in Education. (4thed). New York:
Routledge.
Flick, U. (1998). An Introduction to Qualitative Research: Theory, Method and Applications.
London: Sage.
Miles, M. B. and Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis: An Expanded Sourcebook:
Sage Publications, Inc.
Nastasi, B. K. and Schensul, S. L. (2005). Contributions of Qualitative Research to the Validity
of Intervention Research. Journal of School Psychology. 43(3), pp.177-195.
Onwuegbuzie, A. and Leech, N.L. (2007). Sampling Designs in Qualitative Research: Making the
Sampling Process more Public. The Qualitative Report. 12(2), pp.238-254.
Patton, M. Q. (1990). Qualitative Evaluation and Research Methods (2nd ed.). Sage
Publications, Inc.
Rubin, H. J. and Rubin, I. S. (1995) Qualitative Interviewing: The Art of Hearing Data (2nd ed).
Sage Publications, London.
Spradley, J. (1979) The Ethnographic Interview. Holt Rinehart and Winston, New York.
Shank, G. (2008). Six Alternatives to Mixed Methods in Qualitative Research. Qualitative
Research in Psychology. 3(4), pp.346-356.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-03