การพัฒนานโยบายการใช้เรือนจำเอกชน

ผู้แต่ง

  • เขมชยุตม์ โภคินจารุเสถียร
  • ธรรมวิทย์ เทิดอุดมธรรม
  • นวภัทร สมกำเนิด

คำสำคัญ:

การพัฒนา, นโยบาย, เรือนจำเอกชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษา คือ เพื่อทราบสภาพปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำในประเทศไทย เพื่อทราบรูปแบบเรือนจำเอกชนที่เหมาะสมกับประเทศไทย และเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการใช้เรือนจำเอกชนในการแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการทบทวนเอกสาร และสัมภาษณ์แบบเชิงลึก มีการอภิปรายกลุ่มย่อย มีให้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบไปด้วย ผู้บริหาร (ผู้บัญชาการเรือนจำ) ผู้ปฏิบัติงานและผู้ต้องขังจากเรือนจำประจำจังหวัดที่มีสถิติผู้ต้องขังสูงและเกินความจุ 5 อันดับแรกของประเทศไทย เรือนจำละ 3 คน รวม และนักวิชาการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านอาชญาวิทยา ด้านกฎหมาย ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ด้านละ 2 คน เจ้าหน้าที่ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการของกรมราชทัณฑ์ กรมคุ้มครองสิทธิ์และเสรีภาพ สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก สำนักงานอัยการสูงสุด ศาล กรมคุมประพฤติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทนายความ หน่วยงานละ 2 คนและ นักลงทุนและผู้ประกอบการ จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน

ผลการศึกษา ทราบถึงสภาพปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำในประเทศไทย ทราบถึงรูปแบบของเรือนจำที่เหมาะสมกับประเทศไทย (รูปแบบที่รัฐจ้างเหมาในกิจการบางอย่างและรูปแบบที่รัฐให้เอกชนบริหารจัดการทั้งหมด) ทั้งนี้ การใช้เรือนจำเอกชนในการแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ ควรถูกขับเคลื่อนในเชิงนโยบายระดับประเทศ และควรให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาอื่นๆ ที่ควรแก้ไขและเสนอเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในประเด็นอื่นๆด้วยข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย ได้แก่ ควรให้ความสำคัญกับการลดจำนวนผู้กระทำความผิดเข้าสู่เรือนจำและลดการบังคับโทษจำคุกในกระบวนการยุติธรรมและศึกษาหาแนวทางในการพิจารณาพิพากษาของศาลที่ควรพิจารณามาตรการลงโทษทางเลือกแทนการจำคุกให้มากขึ้น

References

กฤตพงษ์ พัชรภิญโญพงศ, (2562).การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของการควบคุมผู้ต้องขังนอกเรือนจำด้วยกำไลอิเลคโทรนิกส์, วารสารนวัตกรรมและการจัดการ 4(2562), 29-39

วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์. (2560). แนวความคิดเกี่ยวกับเรือนจำเอกชน. ชมรม เครือข่าย บริษัท เรือนจำเอกชน., จาก https://www.gotoknow.org/posts/628004

นิตินัย นิยมวัน และ พิสมัย จารุจิตติพันธ, (2561).การจัดการภาวะวิกฤติของการควบคุมผู้ต้องขังในประเทศ

ไทย,วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6 (3),1159-1170

Jitsawang, N. (1998). Human rights of inmates are being violated. Corrections, 46 (3), 20-35, in

Criminal Code (CSC), retrieved 20 November 2015 from:http://web.krisdika.go.th /data/law/law4/%bb06/%bb06-20-9999-update.pdf

Kilgore, J. (2013). Progress or More of the Same? Electronic Monitoring and Parole in the Age

of Mass Incarceration. Critical Criminology: An International Journal, (21), 123-139.

Nathee Chitsawang.(2012). Alternatives Mothed of Offenders Treatment for Solve Prisoner

Overcrowding.Retrieved November 1 ,2017, from https://www.gotoknow.org/posts/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-13