ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ของผู้ใช้บริการ ในจังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ผกาภรณ์ บุสบง

คำสำคัญ:

ส่วนประสมการตลาด, การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์, กลุ่มหัตกรรมจักสานผักตบชวา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สถานีบริการน้ำมัน ปตท.ของผู้ใช้บริการในจังหวัดพะเยา2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในจังหวัดพะเยา จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท.ในจังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท.ในจังหวัดพะเยา จำนวน 380 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test  และค่า F-test หรือหรือวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท.ของผู้ใช้บริการใน จังหวัดพะเยา  โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ส่วนใหญ่มีความถี่ในการเติมน้ำมันอยู่ที่ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ จำนวนเงินที่เติมต่อครั้ง คือ 500– 1,000 บาท โดยส่วนใหญ่เติมน้ำมันดีเซล ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท.ของผู้ใช้บริการในจังหวัดพะเยา จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้สถานีบริการน้ำมัน ปตท.ในจังหวัดพะเยา พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความถี่ในการเติมน้ำมัน ด้านผลิตภัณฑ์ มีผลในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.284  ปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนเงินที่เติมต่อครั้ง ด้านราคา มีผลในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.312 และชนิดของน้ำมันที่เติม ด้านผลิตภัณฑ์  มีผลในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.245

References

กรมธุรกิจพลังงานกระทรวงพลังงาน. (2561). รายงานประจำปี 2560. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2562 จากhttp://www.doeb.go.th/2016/report.htm
กัลยดา แพ่งเกษร. (2558). กลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายสถานีบริการน้ามันภัทรกิจปิโตรเลียมอำเภอนาเชือกจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จิรัฐา หมอยาดี. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกใช้สถานีบริการน้ำมันปตท.ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดลำปาง. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเนชั่น. คณะบริหารธุรกิจ
ญาณกร โท้ประยูร และคณะ(2561).การศึกษาเชิงกลยุทธ์ธุรกิจค้าส่ง อาหารแช่แข็งในพื้นที่ภาคอีสาน ของบริษัท พีมาร์ท ซุปเปอร์สโตร์ จำกัด, วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา 8(1), 1-9
ไพรัช วิริยะลัพภะ.(2544). ความพึงพอใจของประชาชนผู้มาใช้บริการสถานีบริการน้ำมันในเขตอำเภอเมืองจังหวังจันทบุรีศึกษาเฉพาะกรณีสถานีบริการน้ำมันเครื่องหมายการค้าปตท.ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. ชลบุรี:บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา
ราศีวงศ์ ทรายทอง.(2543). ความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ในเขตอำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรี.ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาบริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
วิชาญ พกสานนท์.(2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สถานีบริการน้ำมันผู้บริโภคในอำเภอวังน้ำเย็นจังหวังสระแก้ว.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ สุวีริยาสาสน์
สถิตพงศ์ เงางาม. (2548). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีตอการให้บริการของสถานีบริการน้ำมันปตท.รูปแบบใหม่PTT Park สาขากล้วยน้ำไทยกรุงเทพมหานคร.การศึกษาค้นคว้าอิสระคณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สมพงศ์ เกษมสิน. (2530). ปัจจัยที่มีอิทธิพลสำหรับความพอใจในด้านการบริการ.การบริหารงานบุคคลแผนใหม่. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิชย์, 275-277.
Maslow, A. (1970). Human needs theory: Maslow’s hierarchy of human needs. In R.F.
Craven & C. J. Hirnle (Eds.), Fundamental of Nursing: Human Health and
Function. (3rd ed.) Philadelphia: Lippincott
Kotler, Philip. (2003). Marketing Management (The Millennium edition). Upper Saddle River, NJ: PersonPrentiec Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30