ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือ ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ภฤดา กาญจนพายัพ

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, ผ้าทอมือ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าฝ้ายทอมือของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย  2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าฝ้ายทอมือของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 3.) เพื่อหาความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าฝ้ายทอมือของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าฝ้ายทอมือ จำนวน 400 คน โดย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ไค-สแควร์ (Chi-Square)

ผลการศึกษาพบว่า

          ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าฝ้ายทอมือ โดยพิจารณาจากปัจจัยในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ปัจจัยทางด้านพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าฝ้ายทอมือ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ตัดสินใจซื้อประเภทเครื่องแต่งกาย, เหตุผลในการตัดสินใจซื้อซื้อไปใช้เอง, แหล่งข้อมูลเลือกเพื่อน, บุคคลที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อเลือกตัดสินใจเอง, ช่วงเวลาที่เลือกซื้อวันหยุดเสาร์-อาทิตย์,แหล่งที่เลือกซื้อเลือกงานแสดงสินค้าที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานต่างๆ, เหตุผลที่เลือกซื้อจากแหล่งจำหน่ายเพราะผลิตภัณฑ์มีหลากหลายรูปแบบให้เลือก, ปริมาณในการซื้อแต่ละครั้งเลือกซื้อ 1-2 ชิ้นต่อครั้ง  และจำนวนเงินในการซื้อแต่ละครั้งซื้อแต่ละครั้ง ไม่เกิน 800 บาท ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าฝ้ายทอมือ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2562). วัฒนธรรม คุณค่าสู่มูลค่า. ระบบออนไลน์. แหล่งที่มา : http://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=3972&filename=index.
น้ำฝน คงสกุล และคณะ. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อ สินค้า OTOP ที่ผลิตโดยกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือ ตำบลหนองหลวง อำเภอเมือง จังหวัดตาก.
ตาก: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก.
รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2559). พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่: นัยยะเพื่อการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดตามความต้องการของผู้ซื้อ.
เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.
สหัสวรรษ ปันทา. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าฝ้ายทอมือใน
อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ.
เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สุภัสรา บุญเรือง และคณะ. (2559). แนวทางการพัฒนาตลาดผ้าทอไทลื้อในเขตอำเภอเชียงคำ
จังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค.2(2), 109-121
Kotler. 1994. Marketing management. 11th ed. New Jersey: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30