การอยู่ร่วมกันในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามแนวพุทธปรัชญา
คำสำคัญ:
การอยู่ร่วมกัน, การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา, พุทธปรัชญาบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการอยู่ร่วมกันในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันใน สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 3)เพื่อนำเสนอแนวทางการอยู่ร่วมกันในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามแนวพุทธปรัชญา งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ คือ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 4 สาขาวิชา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน 100 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สังเคราะห์แล้วนำเสนอในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (บุคคลต้องมีความรับผิดชอบ และต้องเตรียมตัวให้สามารถอยู่กับโลกสมัยใหม่ รู้เท่าทันสถานการณ์ พร้อมยอมรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต และบริบททางสังคมในการอยู่ร่วมกัน 2) หลักสังคหวัตถุ 4 เป็นหลักพุทธปรัชญาเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน คือ 1.หลักทาน (การให้) 2.หลักปิยวาจา (การพูดคำสุภาพ) 3.หลักอัตถจริยา (การบำเพ็ญประโยชน์) 4.หลักสมานัตตตา (การวางตนได้เหมาะสม) 3) ควรส่งเสริมจัดสถานที่เพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน จัดสถานที่หรือจัดกิจกรรมตามความเหมาะสม เพื่อสร้างสุขภาวะของชีวิตด้วยการเริ่มด้วยการให้ทาน พิจารณาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเองโดยมีครูอาจารย์เป็นผู้ชี้แนะ มีการเลือกเฟ้นพุทธปรัชญาต่าง ๆ นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยสอดคล้องกับหลักสังคหวัตถุ 4
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สำหรับประเภทกิจการและกิจกรรมกลุ่มที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ไซค์.
ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2563). การปรับตัวและการร่วมมือกันในสถานการณ์โควิด 19 ตามแนวพุทธศาสน์, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 16(2), 59-78.
พระธนพร คุณสมฺปนฺโน (อาคะนิช). (2561). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการดำเนินชีวิตของประชาชนบ้านศิลา ตำบลศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พุทธธรรม ฉบับปรับขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 43. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต.
พระสุนทร ธมฺมธโร (บุญคง). (2560). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในชุมชนวัดหนองสนม จังหวัดระยอง. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 13, 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเจตน์ ผิวทองงาม. (2550). การแนะแนวเพื่อชีวิตที่ดีงามในคำสอนของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคม.24 (46), 173-187.
สำนักข่าวเดอะไทยเพลส. (2563). “พระพยอม” ชู “สติ” ฝ่าวิกฤต ยกบทเรียนชีวิตจาก “โควิด-19” ต้อง “ไม่ปล้นตัวเอง”. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563, https://www.thethaipress.com/2020/11407
สำนักข่าวแนวหน้า. (2563). 'สมเด็จพระมหาธีราจารย์'แนะใช้หลัก'ทาน-ศีล-ภาวนา'สู้โควิด-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563, https://www.naewna.com/local/483475
สำนักข่าวอิศรา. (2563). โลก 7 N หลังยุคโควิด ป้องกันการเกิดสงครามโลก สู่ทิศทางใหม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563, https://www.isranews.org/article/isranews-article/88486-covid-31.html
อนงค์ ภูทองกรม. (2559). การใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบล อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. ขอนแก่น : สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์