บทวิเคราะห์บริบททางการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ผ่านการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธัญญา ดวงทอง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

คำสำคัญ:

บริบททางการเมือง, กลุ่มผลประโยชน์, การบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์บริบททางการเมืองที่มีอำนาจต่อ                 การกำหนดนโยบายและระบบการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย 2) วิเคราะห์กลุ่มผลประโยชน์ในระบบเศรษฐกิจประเทศไทยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย 3) ปรับปรุงนโยบายการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์สู่การนำนโยบายไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย ตลอดจนนโยบายสนับสนุนให้เป็นไปอย่างเหมาะสม การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ใช้เครื่องมือสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi – Structure Interview) จากการศึกษาพบว่า 1) บริบททางการเมืองไทย มีลักษณะการใช้อำนาจมีอิทธิพลเหนืออำนาจรัฐ เพราะคุณลักษณะพิเศษของชนชั้นนำทำให้นโยบายของประเทศไทยจะถูกประกอบขึ้นจากกระบวนการของตัวกระทำทางอำนาจทั้งที่มีอำนาจโดยตรงในการตัดสินใจนโยบายและการสร้างอิทธิพลขึ้นเหนือนโยบายเพื่อขับเคลื่อนพลังอำนาจของตัวกระทำให้เกิดนโยบาย รวมถึง 2) กลุ่มผลประโยชน์ในระบบเศรษฐกิจมีความเกี่ยวพันระหว่างกลุ่มนักธุรกิจหรือกลุ่มนายทุนและพรรคการเมืองไทยมาอย่างช้านานมักใช้อำนาจในการเข้าแทรกแซงหรือชี้นำการสร้างอิทธิพลต่อเนื้อหาของนโยบายนำไปสู่การมีผลประโยชน์เชิงนโยบายตลอดจนการพยายามผลักดันนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มตน และ 3) นำไปสู่การผลักดันในการสร้างกรอบให้ภาครัฐร่วมขับเคลื่อนให้เกิดกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ สู่การนำนโยบายไปปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาของระบบและกระบวนการรีไซเคิลในประเทศไทยที่มีประสิทธิภาพได้อย่างยั่งยืน

 

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมควบคุมมลพิษ. (2560).รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2560. กรุงเทพฯ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมควบคุมมลพิษ. (2563).รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2562. กรุงเทพฯ

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม. (2561). ข่าวอึ้ง! พบชาวบ้านกว่า 100 คน เสี่ยงมีค่าตะกั่วในเลือดเกินมาตรฐาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 จากเว็ปไซต์ https://infotrash.deqp.go.th/index.php/pages/view/infonews_full?news_id=13

จิดาภา ถิรศิริกุล. (2563.). การเมือง การบริหารและการกำหนดนโยบายสาธารณะ ภายใต้แนวคิดการบริหารกับการเมืองที่ไม่แยกออกจากกันในบริบทสังคมตะวันตกและในบริบทสังคมไทย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 9(3). 1-7

ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้ง.

ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2557). เศรษฐศาสตร์การเมืองและทฤษฎีสังคมวิพากษ์.ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริส เบเคอร์. (2546). เศรษฐกิจการเมืองสมัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ: โอ เอส พรินติ้งฯ

พระมหาศิวพล พลเมธี. (2022). พรรคการเมืองกับการสร้างความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย. วารสาร พุทธ นวัตกรรม และ การ จัดการ, 89-100.

พีรนาฏ คิดดี และสุทธิพร บุญมาก. (2559). การขับเคลื่อนและอุปสรรคของการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโลโลยี, 8(8), 145-157

สักรินทร์ นิยมศิลป์. (2558). อาชญากรรมข้ามชาติ: ภัยคุกคามไทยและอาเซียน. บทความวิชาการในหนังสือความหลากหลายทางประชากรและสังคมในประเทศไทย ณ ปี 2558 การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11, มหาวิทยาลัยมหิดล

สุดาวรรณ ประชุมแดง และคณะ. (2563). การขัดกันของผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจการเมืองไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 5(6). 102-117

Domhoff, William. (2002). The Scientific Study of Dreams: Neural Networks, Cognitive Development, and Content Analysis. Washington, DC.

Edward, O. L. & David, K. (1987). Organizational state, Social choice international policy domains. Wisconsin: University of Wisconsin Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15