ประสิทธิภาพการบริหารโครงการการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในเขตปฏิรูปที่ดิน
คำสำคัญ:
การจัดที่ดินให้สถาบันเกษตรกร, การบริหารงานโครงการ, การปฏิรูปที่ดินบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการบริหารงานโครงการการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในเขตปฏิรูปที่ดิน และเพื่อค้นหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในเขตปฏิรูปที่ดิน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. ทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติการ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 25 ราย โดยวิธีการสนทนากลุ่มย่อย เป็นการระดมความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. ถึงผลของการบริหารโครงการที่ผ่านมา นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่ออธิบายปรากฏการณ์อย่างเป็นระบบ ใช้หลักความเป็นเหตุเป็นผลและความสอดคล้องของข้อมูล จากนั้นนำเสนอบทวิเคราะห์ในลักษณะการพรรณนาและอธิบายความ ผลการวิจัย พบว่า โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล มีการบริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการ ทั้งระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติการ ในส่วนของ ส.ป.ก. ทำหน้าที่ในฐานะหน่วยงานที่มีพื้นที่ดำเนินการและจัดที่ดินให้สถาบันเกษตรกร ในกระบวนการทำงานในระดับจังหวัดเห็นว่ามีส่วนร่วมน้อยไปในกระบวนการคัดกรองเกษตรกร ข้อดีของการดำเนินงานคือสามารถจัดที่ดินแปลงว่างให้ผู้ไร้ที่ดินทำกินรายใหม่ได้จริง ข้อด้อยคือการบริหารจัดการที่เป็นปัญหาและข้อควรคำนึงบ้าง เช่น การเตรียมความพร้อมของทั้งเจ้าหน้าที่ และเกษตรกร การคัดกรองเกษตรกร การรวมกลุ่มของเกษตรกร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลผ่าน 2 กลไกหลักคือ กลไกการดำเนินงานผ่านคณะอนุกรรมการ คทช. จังหวัด และ กลไกของ ส.ป.ก.
References
เกียรติ บุญยโพ. (2562). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคใหม่. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 21(1), 165-170.
ทวีชัย แสงนุศร. (2562). การสร้างประสิทธิภาพการบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จ. Journal of Modern Learning Development. 4(1), 31-42.
นพดล เหลืองภิรมณ์. (2556).แนวคิด การจัดคนให้เหมาะสมกับงานและการแบ่งงานในบริบทที่แตกต่างกันแนวคิดนี้ยังคงใช้ได้หรือไม่ ในยุคสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ ว.มทรส. 1(1), 83-91.
สมพร ทองทั่ว. (2560). การบริหารจัดการกระบวนการเข้ายึดคืนพื้นที่ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 36/2559 กรณีแปลงสวนส้มจังหวัดเชียงใหม่. รายงานต่อสำนักงาน ก.พ.. พฤษภาคม 2560. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน ก.พ..
สุวรรณา นาควิบูลย์วงศ์. (2557). การติดตามและประเมินผลโครงการ แนวคิดสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). คู่มือการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สำนักจัดการปฏิรูปที่ดิน. (2563). สรุปผลการดำเนินงานตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 36/2559. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. [อัดสำเนา].
อุกฤษฏ์ อินทาภรณ์. (2562). การขับเคลื่อนนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน กรณีศึกษา : พื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดสระแก้ว. รายงานต่อสำนักงาน ก.พ.. สิงหาคม 2562. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน ก.พ.
Drucker. P.F. (2005). Management : Tasks, responsibilities, practices. New York : Truman Talley Books.
Stufflebeam, D. L. and A. J. Shinkfield. (2007). Evaluation Theory, Models, & Applications. United States of America : HB Printing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์