การกำกับดูแลกิจการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธนะพัฒน์ เดชเลิศวรพัฒน์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต
  • รัตพงษ์ สอนสุภาพ อาจารย์ที่ปรึกษา

คำสำคัญ:

การกำกับดูแล, อุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ คือ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการและหลักเกณฑ์กำกับดูแลธุรกิจการสื่อสารและระบบอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานกำกับดูแลกิจการ (Regulator) ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้กำกับดูแล ผู้บริหารกิจการ และผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต แล้วนำข้อมูลนั้นมาสังเคราะห์เนื้อหาตามวัตถุประสงค์ และแสดงผลในรูปของการบรรยายพรรณนาความ ผลของการศึกษาพบว่า 1) พัฒนาการอุตสาหกรรมและการก่อเกิดของหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยตั้งอยู่บนพื้นฐานที่รัฐต้องการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปของเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจใหม่ที่สำคัญในการพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ 2) บทบาทของหน่วยงานกำกับดูแลกิจการ กิจการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีรูปแบบของการกำกับที่เอื้อให้กลุ่มผลประโยชน์ ทำให้การกำกับดูแลกิจการในประเทศไทยมักจะก่อให้เกิดต้นทุนในการจัดสรรค่าเช่าทางเศรษฐกิจในกลุ่มผลประโยชน์ระหว่างผู้มีอำนาจอนุมัติกับผู้ขอใบอนุญาต และ 3) ปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ได้แก่ นโยบายของรัฐบาลไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม อัตราการเกิดของนวัตกรรมต่ำจากการใช้อินเทอร์เน็ต ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษาและสาธารณสุขต่ำ รวมทั้งผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยไม่กล้าลงทุนทั้งที่อินเทอร์เน็ตมีต้นทุนธุรกรรมในการเริ่มต้นต่ำ ข้อเสนอแนะรัฐควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการบรอดแบนด์ โดยส่งเสริมให้มีการแข่งขันในธุรกิจบริการบรอดแบนด์ บนพื้นฐานการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม รวมถึงการเปิดกว้างทางเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดการลงทุนในโครงข่ายและขยายการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

References

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน). (2562). รายงานประจำปี 2562. กรุงเทพมหานคร : บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน).

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน). (2562). รายงานประจำปี 2562. กรุงเทพมหานคร : บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน).

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2560). Blockchain. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติโทรคมนาคม.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติโทรคมนาคม. (2553). พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติโทรคมนาคม.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติโทรคมนาคม. (2561). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติโทรคมนาคม.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมชั่วคราวและฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2).ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนพิเศษ 198 ง วันที่ 20 มิถุนายน 2550.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน). (2562). รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2558). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2563). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

Colin Blackman and Lara Srivastava (2011). Telecommunications Regulation Handbook. Tenth Anniversary Edition, The International Bank for Reconstruction and Development / The World Bank, InfoDev, and The International Telecommunication Union.

Legard, R., Keegan, J. & Ward, K. (2003). 'In-depth Interviews', in Qualitative Research Practice. A Guide for Social Research Students and Researchers. London : SAGE.

Miles, M.B. & Huberman, A.M. (1994). Qualitative data analysis: an expanded sourcebook. 2nd. Ed. London: SAGE.

Stigler and Peltzman. (1971). The Theory of Economic Regulation. The Bell Journal of Economics And Management Science. 2(1), 3-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-22