บ้านวังนกไข่: ทุนชุมชนเข้มแข็งบนฐานทุนทางสังคมและเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • สุภาพร บุตรศรีภูมิ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ฉัตรวรัญช์ องคสิงห วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ชุมชนเข้มแข็ง, ทุนทางสังคม, เศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

         

การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 3 วัตถุประสงค์ประกอบด้วยเพื่อศึกษาทุนทางสังคมของบ้านวังนกไข่  เพื่อศึกษาการจัดการเศรษฐกิจพอเพียงในบ้านวังนกไข่ศึกษาชุมชนบ้านวังนกไข่ซึ่งเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของจังหวัดสมุทรสาคร และได้รับรางวัลพระราชทาน หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็น เป็นสุขและเพื่อศึกษาวิธีการจัดการทุนทางสังคมของบ้านวังนกไข่เพื่อรักษาความเป็นชุมชนเข้มแข็ง การศึกษาวิจัยเรื่อง “บ้านวังนกไข่ : ทุนชุมชนเข้มแข็งบนฐานทุนทางสังคมและเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อนำมาประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้มีการกำหนดวิธีการศึกษาและขั้นตอนในการศึกษาดังต่อไปนี้ วิธีการศึกษา มีการศึกษาจากเอกสาร และเก็บข้อมูลการศึกษาภาคสนาม ใช้วิธีการสำรวจภาคสนาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 20 คน

          ผลการวิจัยพบตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยข้อแรกศึกษาทุนทางสังคมของบ้านวังนกไข่  ผลการวิจัยพบว่า บ้านวังนกไข่ประกอบด้วยทุนทางสังคมทั้งหมด 7 ด้านดังนี้ 1. ทุนทางจิตวิญญาณระบบคุณค่าสำนึกท้องถิ่น 2. ทุนทางสังคมปัญญา 3. ทุนทางสังคมทรัพยากรมนุษย์ 4. ทุนทางสังคมทรัพยากรธรรมชาติ 5. ทุนโภคทรัพย์ 6. ทุนการตอบแทนกัน 7. ทุนการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทุนทางสังคมต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ชุมชนอยู่กันอย่างเครือญาติ มีความรักใคร่ สามัคคี ปรองดอง ด้วยการมีผู้นำชุมชนในหมู่บ้านที่มีความสามารถ เข้าใจ เข้าถึงชุมชน ด้วยการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ชาวบ้านเกิดแรงผลักดันในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่สอง เพื่อศึกษาการจัดการเศรษฐกิจพอเพียงในบ้านวังนกไข่ ในเมื่อบ้านวังนกไข่มีทุนทางสังคมที่ที่ทั้งจัดด้านแล้ว มีผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับชุมชนแห่งนี้ ภายใต้เงื่อนไข ความรู้ และคุณธรรม สามารถทำให้ชาวบ้านวังนกไข่ อยู่ดี กินดี ไม่มีหนี้สิน นำทุนทางสังคมมาบริหารจัดการ ตามวัตถุประสงค์ข้อที่สาม ที่ศึกษาวิธีการจัดการทุนทางสังคมของบ้านวังนกไข่เพื่อรักษาความเป็นชุมชนที่เข็มแข็ง เพราะชาวบ้านร่วมมือร่วมใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ชาวบ้านมีการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ และใช้ได้จริงในชีวิต  ทำให้ชุมชนบ้านวังนกไข่ สามารถเป็นต้นแบบที่ดีของชุมชนที่อยู่ดี กินดี มีสุข เป็นตัวอย่างที่ดียิ่งทำให้ชุมชนบ้านวังนกไข่สามารถดึงศักยภาพของทุนชุมชนที่มีอยู่ มาบูรณาการร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพและลงตัว ทำให้บ้านวังนกไข่เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2545). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. ม.ป.ท.

จำรัส โคตะยันต์. (2553). ความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” กรณีศึกษาหมู่บ้านก้างปลา ตำบลหนองไผ่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต.สาขาวิชาการปรกครองท้องถิ่น. วิทยาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ชุติรักษ์ ใจชื่น. (2549). การศึกษาการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสร้างความมั่นคงของมนุษย์ : ศึกษา กรณีศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. ภาคนิพันธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิศาล ทำสวน. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาหมู่บ้าน ป่าไผ่ หมู่ที่ 2 ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อานันท์ กาญจนพันธ์. (2544). วิธีคิดเชิงซ้อนในการวิจัยชุมชน: พลวัตและศักยภาพของชุมชน ในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-12. สืบค้น 19 /06/ 2564, http://www.nesdb. go.th/main.php?filename=develop_issue

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2553). เศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 21/06/2563http://www.chaipat.or .th/site_content/item/3579-2010-10-08-05-24-39.html

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) สืบค้น 19/ 06/2564, http://www.thailibrary.in.th/2 019/08/20/national-strategy-20yrs/

Putnam, R. D. (1993). Making democracy work: Civic traditions in modern Italy. Princeton, NJ: Princeton University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-25