การเสริมสร้างมโนสำนึกในการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่นด้วยหลักพุทธธรรม

ผู้แต่ง

  • ภาวินี สุภารัตน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย
  • พระเมธาวินัยรส บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย
  • สุมานพ ศิวารัตน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, มโนสำนึก, การสร้างมโนสำนึก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการเสริมสร้างมโนสำนึกในการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่น” ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร(Documentary Research) และโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-interview) เป็นเครื่องมือใน การรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้บริการทั่วไป ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการให้บริการ จำนวน 11 รูป/คน เจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้าหน่วยงานบริการ การสนทนากลุ่ม จำนวน 11 คน

ผลการวิจัยพบว่า การให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่น มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพบริการได้รวดเร็ว ใช้งานง่าย ข้อมูลชัดเจนเป็นปัจจุบัน ให้ความสะดวกสบาย สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย ช่องทางรับฟังปัญหา/ข้อร้องเรียน/ข้อคิดเห็นที่หลากหลาย ได้รับการแก่ไขหรือตอบสนองอย่างรวดเร็ว โดยหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่น คือ ปุริสธรรม 7 สังคหวัตถุ 4 ลักพรมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 และกัลยาณมิตร 5 ประการ เพื่อบูรณาการการเสริมสร้างมโนสำนึกในการให้บริการที่ประกอบไปด้วย จุดหมายมโนสำนึก คุณธรรม จริยธรรม วิธีคิด และ บริการมีเป้าหมาย นำมาวิเคราะห์หาข้อดีข้อเสีย นำข้อดีมาเพื่อพัฒนาและบูรณาการด้วยหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาไปสู่เป้าหมาย โดยใช้แรงขับเคลื่อนด้วยขบวนการ คือ หลักพุทธธรรม จิตสาธารณะ จิตสำนึก และ  หลักการที่เป็นหัวใจของการบริการ

         รูปแบบมาบรูณาการการเสริมสร้างมโนสำนึกในการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่นด้วยหลักพุทธธรรม เป็นทฤษฎี Comets MODEL อันประกอบด้วย Co จุดหมายในสำนึก คุณธรรม (Moral) จริยธรรม (Ethics) การใช้วิธีคิดเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ (Think) การบริการที่ประกอบด้วยมโนสำนึก (Service)

References

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). อ้างถึงใน ธิดารัตน์ ศิละวรรณโณ. (2553). ความคิดเห็นของพนักงานส่วนตำบลต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลตามหลักสังคหวัตถุ 4: กรณีศึกษา อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตฺโต. (2543). ธรรมะกับการทำงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระสูตร และอรรถกถา แปล มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่มที่ 1 ภาคที่ 1. มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ พิมพ์เนื่องในวโรกาส ครบ 200 ปี แห่งพระราชวงศ์จักกรี กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2525.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย (91 เล่ม). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2525). จริยศาสตร์ศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

สุทธิพร บุญส่ง. (2552). คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ทริป เพิ้ลกรุ๊ป.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-14