ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการเลือกท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • สมคิด โสภณอำนวยกิจ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • ชนินทร์ วิชชุลตา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • ธันพัทธ์สร ธรรมโชติเมธิน คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • ปัณค์ ยกขุน คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • สุขสวัสดิ์ ชูวิเชียร คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • พรพนา ศรีสถานนท์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

คำสำคัญ:

1. ปัจจัย, 2. การท่องเที่ยวเชิงอาหาร, 3. อำเภอเชียงแสน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับของปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการเลือกท่องเที่ยวเชิงอาหาร 2. เปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการเลือกท่องเที่ยวเชิงอาหาร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3.ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกท่องเที่ยวเชิงอาหาร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 385 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า1) ปัจจัยจูงใจ ด้านความรู้เกี่ยวกับอาหารภาคเหนือ อัตลักษณ์ทางอาหาร ส่วนประสมทางการตลาด 7P’s ความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวและการเลือกท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยว อยู่ในระดับมากที่สุด 2)  อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่งผลต่อการเลือกท่องเที่ยวเชิงอาหาร 3) ปัจจัยจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการเลือกท่องเที่ยวเชิงอาหาร คือ สถานที่/ช่องทางการจัดจำหน่าย (X5) ความรู้เกี่ยวกับอาหารภาคเหนือ(X1) ด้านผลิตภัณฑ์ (X3) ความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยว (X10) ด้านการส่งเสริมการตลาด (X6) ด้านราคา (X4) ด้านลักษณะทางกายภาพ (X9)ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถอธิบายการผันแปรของการเลือกท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (Y) ได้ร้อยละ 71.90 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้

Y ̂ = 0.405-0.156 X1 + 0.205 X3 + 0.106 X4 + 0.288 X5 + 0.164 X6 + 0.050 X9 + 0.136 X10

References

กชกร จุลศิลป์. (2561). กลยุทธ์การจัดการการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2558). อัตลักษณ์อาหารไทย 4 ภาค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด.

กฤตวิทย์ กฤตมโนรถ. (2562). การท่องเที่ยวเชิงอาหารผ่านอัตลักษณ์อาหารทั้ง 4 ภูมิภาค. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ.

เณรัญชรา กิจวิกรานต์. (2557). อาหารไทย การรับรู้ถึงคุณภาพอาหารไทย และแนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยว. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 10(1).

เบญจมาศ ณ ทองแก้ว ธาราทิพย์ เกิดสุวรรณ์ จิรัชยา ปรีชาชน และอำนาจ รักษาพล . (2560). การท่องเที่ยวเชิงอาหารตลาดใต้เคี่ยม จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ 9(6), 458-470.

ศุภวรรณ หมั่นดี. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงอาหารกับการส่งเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สริดา พันธ์เทียน. ( 2560). การท่องเที่ยวเชิงอาหารไทย : แนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาการจัดการท่องเที่ยวในเขตจังหวัดลุ่มแม่น้ำภาคกลางโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.

อำเภอเชียงแสน. (2563). ข้อมูลทั่วไปอำเภอเชียงแสน. สืบค้นจาก:https://chiangsaen. go.th/ข้อมูลทั่วไปอำเภอเชียงแสน/

Donald Getz, Richard N.S. Robinson, Tommy D. Anderson and Sanja Vujicic. (2014). Foodies and Food Tourism. Oxford: Goodfellow Publishers Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-25