การศึกษาวิเคราะห์ประเพณีบุญบั้งไฟในจังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • พระมหาบุญประสิทธิ์ นาถปุญฺโญ (การัตน์) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การศึกษาเชิงวิเคราะห์, ประเพณีบุญบั้งไฟ , จังหวัดยโสธร

บทคัดย่อ

ประเพณีบุญบั้งไฟ มีความเกี่ยวพันกับชีวิตของชาวอีสาน ซึ่งถือเป็นประเพณีที่ดีงามที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีความเชื่อว่ามนุษย์อยู่ใต้อิทธิพลของเทวดา เมื่อถึงเดือนหกของทุกปี จะต้องจัดงานบุญบั้งไฟ เป็นการบูชาเพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เมื่อทำเช่นนั้นแล้ว ก็เชื่อว่าฝนจะตกลงมาทำให้เกษตรอุดมสมบูรณ์ ประชาชนในหมู่บ้านจะอยู่เย็นเป็นสุข เพราะมีข้าวปลาอาหารที่บริบูรณ์ทั้งปราศจากโรคภัยไข้เจ็บด้วย เป็นประเพณีที่มีคุณค่าต่อจิตใจของชาวอีสานเป็นอย่างมาก ประเพณีบุญบั้งไฟหรือบุญเดือนหกนี้ ยังเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกด้วย คือ วันวิสาขบูชา ได้แก่ วันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า มาบรรจบกัน เพื่อให้ชาวพุทธได้ระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนให้ยึดมั่นในคุณงามความดีทําให้คนในสังคมมีจิตใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

References

จารุบุตร เรืองสุวรรณ. (2526). ของดีอีสาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2524). ขนบธรรมเนียมประเพณีของอีสาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์.

เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2526). บั้งไฟ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เทศบาลเมืองยโสธร. (2547). งานประเพณีบุญบั้งไฟ. ยโสธร: กองวิชาการและแผนงานเทศบาลเมืองยโสธร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทนานมีบุ๊คส์.

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดยโสธร. (2542). บุญบั้งไฟยโสธร. ยโสธร : สำนักพิมพ์ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดยโสธร.

ศิริวัฒน์ คำวันสา. (2523). ท้าวผาแดง-นางไอ่และบุญบั้งไฟ. อีสานปริทัศน์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-27