ธุดงควัตร : แนวทางพัฒนาศาสนทายาทในพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
ธุดงควัตร, แนวทางพัฒนาศาสนทายาท, พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง ธุดงควัตร : แนวทางพัฒนาศาสนทายาทในพระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักธุดงควัตร 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาศาสนทายาทในพระพุทธศาสนา 3) เพื่อบูรณาการพัฒนาศาสนทายาทในพระพุทธศาสนาด้วยหลักธุดงควัตร 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบบูรณาการพัฒนาศาสนทายาทในพระพุทธศาสนาด้วยหลักธุดงควัตร” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลเชิงเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In- depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่าหลักธุดงควัตรในพระพุทธศาสนาที่มีมาในพระไตรปิฎกแค่เพียง 8 ข้อเท่านั้น ซึ่งมีใจความว่า ธุดงค์เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล มี 8 ข้อ คือข้อ 1 ถึง 8 คือ 1)ปังสุกูลิกังคธุดงค์ (นุ่งห่มผ้าบังสุกุล) 2) เตจีวริกังคธุดงค์ (ทรงไตรจีวร) 3) ปิณฑปาติกังคธุดงค์ (เที่ยวบิณฑบาต) 4) สปทานจาริกังคธุดงค์ (เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับ) 5) ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ (การห้ามภัตเมื่อภายหลัง) 6) อารัญญิกังคธุดงค์ (การอยู่ป่า) 7) ยถาสันถติกังคธุดงค์ (การอยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้) 8) เนสัชชิกังคธุดงค์ (การนั่ง) ต่อมามีการเพิ่มธุดงควัตรเข้ามาอีก 5 ข้อ คือข้อ 9 ถึง 13 ปัจจุบันนี้ ธุดงควัตรมี 13 ข้อ
การพัฒนาศาสนทายาทในพระพุทธศาสนา พบว่า การปฏิบัติธุดงควัตรตามหลักพระพุทธศาสนาเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นคนมักน้อย สันโดษ เลี้ยบง่าย เป็นต้น ศาสนทายาทปฏิบัติธุดงควัตรของพระมหาเถระ ในสังคมไทยที่ปรากฏเด่นชัดในหลักของการปฏิบัติธุดงควัตร ประกอบด้วย 1) หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต 2) หลวงปู่ดูลย์อตุโล 3) ท่านพ่อลี ธมฺมธโรและ 4) พระมหาบัว าณสมฺปนฺโน เป็นต้น ได้ถือปฏิบัติธุดงควัตรมาเป็นประจำไม่ลดละการปฏิบัติธุดงค์จึงเป็นการทวนกระแสเข้าสู่วิถีเดิมของการปฏิบัติ เนื่องจากอัครสาวกในพุทธกาลมี พระมหากัสสปะเถระ ได้ปฏิบัติตามคำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วส่งผลให้บรรลุผลได้ตามต้องการ
บูรณาการพัฒนาศาสนทายาทในพระพุทธศาสนาด้วยหลักธุดงควัตร พบว่า ธุดงค์ทั้ง 13 ข้อ ในแต่ละข้อสามารถปฏิบัติเคร่งครัดได้มากน้อยโดยแบ่งเป็นขั้นอุกฤษ์ ขั้นกลางและขั้นธรรมดา การปฏิบัติธุดงค์ย่อมเป็นผู้สันโดษในปัจจัย 4 ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม (จีวร) อาหาร (บิณฑบาต) ที่อยู่อาศัย (เสนาสนะ) และยารักษาโรค ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะของธุดงคกรรมฐานที่ชอบนิยมปฏิบัติธุดงค์ไปพร้อมกับการเจริญสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ดังนั้นธุดงควัตรเป็นวัตรปฏิบัติเพื่อพัฒนาศาสนทายาทให้เป็นผู้มักน้อย สันโดษ เลี้ยงง่ายอันจะทำให้เป็นผู้มีความสุขทั้งกายและใจในการดำเนินชีวิตในสังคม
References
การศาสนา, กรม. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. เล่มที่ 2, 4, 10, 12, 15, 16, 17, 20, 21, 22, 23, 25, 29, 30, 37. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.
พระสุทัศน์ กตสาโร (ประทุมแก้ว). (2556). การศึกษาธุดงควัตรในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาแนวการปฏิบัติธุดงควัตรของวัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี. ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระไพศาล พหุสุตฺโต (สุมาลี). (2558). วิธีการสร้างศาสนทายาทของพระสายปฏิบัติในจังหวัดสกลนคร. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์. วารสารปณิธาน. ปีที่ 11 ฉบับที่ 16 มกราคม - มิถุนายน 2558.
พระโสภณคณาภรณ์ (ระแบบ ตาโณ). (2529). ธรรมปริทรรศน์ 2. กรุงเทพมหานคร: ศรีสมบัติการพิมพ์.
ภันธกานต์ กิ้มทอง. (2553). ธรรมะแลกมาด้วยชีวิต. นครราชสีมา: ธัญญพัทธ.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต). (2561). การพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 21). วัดญาณเวศกวัน : นครปฐม.
เอกสิษ ฐ์ปฐพีสินหิรัญ. (2020). การมีส่วนร่วมของประชาชนส่งผลต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 3(2): 67-77.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์