การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • วนิชญา ชัยยา สถาบันวิจัยญาณสังวร No
  • พระมหาบุญไทย ปุญฺมโน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพชีวิต, คนไทยในศตวรรษที่ 21, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยในศตวรรษที่ 21 2)  เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3)  เพื่อบูรณาการการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท” วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเอกสาร (Documentary Qualitative Research) โดยผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารปฐมภูมิจากเอกสารขั้นต้น (Primary Sources) และขั้นรอง (Secondary Sources) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบเจาะจงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวน 17 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยในศตวรรษที่ 21 พบว่า คุณภาพชีวิตของคนไทยจะมีความสุขได้นั้นจะต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้มีความมั่นคงทั้งต่อตนเองครอบครัว และชุมชน สังคมด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิต 4 ทาง คือ 1) ทางกาย 2)  ทางจิตใจและอารมณ์ 3) ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และ 4) ทางปัญญา

           หลักพุทธปรัชญาเถรวาทเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต พบว่าหลักพุทธปรัชญาเถรวาทสำหรับส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสงบสุข โดยใช้หลักธรรม ได้แก่ กุศลกรรมบถ 10 ภาวนา 4  และสังคหวัตถุ 4 นำมาบูรณาการ โดยการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางกายนั้นใช้หลักธรรมได้แก่ กายสุจริต 3 วจีสุจริต 4 กายภาวนาและสีลภาวนา  การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางจิตใจและอารมณ์ใช้หลักธรรมได้แก่ มโนสุจริต 3 และจิตตภาวนา  การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคม และสิ่งแวดล้อมใช้หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา และการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางปัญญาใช้หลักธรรม ได้แก่ปัญญาภาวนา การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่สองส่วนคือกายกับใจ หรือรูปกับนาม โดยมุ่งพิจารณาถึงความเป็นจริงของชีวิตตนเอง มุ่งฝึกฝนพัฒนา เพื่อเข้าถึงความสะอาด สว่าง สงบในชีวิต  เข้าใจชีวิตตามความเป็นจริงของโลก แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทนั้น เป็นแนวความคิดแบบยั่งยืนควบคู่ไปกับการพัฒนาให้เกิดความสงบสุขของตนและผู้อื่น

          องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย ได้แก่ “HMEW Model” H= Healthiness  หมายถึง                          มีสุขภาพดี มีร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม M= Mindfulness หมายถึง มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีอารมณ์ยิ้มแย้มแจ่มใส มีเหตุมีผลสามารถควบคุมอารมณ์ได้ ไม่ใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล E= Environment หมายถึง มีสภาพสังคมสงบร่มเย็น และมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมสะอาดถูกสุขลักษณะ เอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นสังคมแห่งคุณธรรม W=Wisdom หมายถึงมีความรอบรู้ในการดำเนินชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัยและมีความสงบสุขได้ สามารถพัฒนาตนเองและสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเปลี่ยนแปลงของโลก และรู้เท่าทันตามความเป็นจริงของชีวิต

Author Biography

วนิชญา ชัยยา, สถาบันวิจัยญาณสังวร

พุทธศาสนาและปรัชญา

References

กรมการศาสนา,พระไตรปิฎกภาษาไทย. (2514). เล่มที่ 4,11,12,14,21,22. กรุงเทพมหานคร: มหากุฏราชวิทยาลัย.

จุลชีพ ชินวรรณโณ. (2557). โลกในศตวรรษที่ 21กรอบการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.กรุงเทพฯ โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เดชา บุญมาสุข. (2557). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พุทธวิธีแก้ปัญหาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์สวย จำกัด.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2537). การศึกษาเพื่อสันติภาพ. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.

Khemraj, S., Thepa, P., Chi, A. P. D. H., Wu, W., & Samanta, S. (2022). Sustainable Wellbeing Quality of Buddhist Meditation Centre Management During Coronavirus Outbreak (COVID-19) in Thailand Using the Quality Function Deployment (QFD), and KANO Analysis. Journal of Positive School Psychology, 845-858.

UNESCO, (1981). Indicator of environment Quality and Quality of Life. Research and Social Science. No 38, Paris: UNESCO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15