รูปแบบความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาอัคคีภัยในอาคารสูง ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อภิวัจน์ พัชรากรภิญโญ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
  • จอมเดช ตรีเมฆ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม, มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

กฎหมายป้องกันอัคคีภัยอาคาร, ระบบป้องกันอัคคีภัยอาคาร, ความร่วมมือการแก้ไขปัญหาอัคคีภัยในอาคารสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุสำคัญของอัคคีภัย ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหาอัคคีภัยในอาคารสูงของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาการจัดการระบบป้องกันอัคคีภัยอัคคีภัยในอาคารสูงทั้งของไทยและต่างประเทศ และ 3) เพื่อสร้างรูปแบบความร่วมมือการแก้ไขปัญหาอัคคีภัยในอาคารสูงของประเทศไทย ใช้รูปแบบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งกฎหมายเฉพาะ และใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหน่วยงานภาครัฐผู้กำกับดูแลด้านการป้องกันอัคคีภัยท้องถิ่น กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันอัคคีภัย กลุ่มเจ้าของ/ผู้บริหารอาคารสูง  กลุ่มผู้ดูแลด้านการป้องกันอัคคีภัยในอาคารสูง และกลุ่มอาสาสมัครป้องกันอัคคีภัย รวมทั้งสิ้น 40 คน โดยใช้หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเหตุการณ์แบบอิงทฤษฎี

ผลการวิจัยพบว่า 1) สาเหตุสำคัญของการเกิดอัคคีภัยในอาคารสูงของประเทศไทยมาจาก โครงสร้างและวัสดุตกแต่งอาคารที่ไม่ทนไฟ การละเลยกฎหมายป้องกันอัคคีภัยอาคารของเจ้าของอาคาร เครื่องมืออุปกรณ์ระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคารไม่พร้อมใช้งาน การละเลยของหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแล และ การขาดการประสานความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  2) การจัดการระบบป้องกันอัคคีภัยอัคคีภัยในอาคารสูงของไทยเป็นไปตามกฎหมายแม่บท ได้แก่ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ส่วนในต่างประเทศนิยมใช้มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยอาคารของ National Fire Protection Association (NFPA) ของสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก  3) รูปแบบความร่วมมือการแก้ไขปัญหาอัคคีภัยในอาคารสูงของประเทศไทยนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดตั้ง “ศูนย์ป้องกันอัคคีภัยอาคารสูงประจำท้องถิ่น” ประกอบด้วยสมาชิกจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคประชาสังคมในท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการป้องกันอัคคีภัยอาคารสูงประจำท้องถิ่นนั้นๆ

References

กฎกระทรวงฉบับที่ 33 พ.ศ. 2535 ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 69 พ.ศ. 2564, เล่ม 138 ตอนที่ 38 ก หน้า 9 (2564).

กฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ.2543 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2550, เล่ม 124 ตอนที่ 17 ก หน้า 29 (2550).

กระทรวงมหาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2560). สถิติการเกิดอัคคีภัยของไทย ช่วงปี พ.ศ. 2550-2559.

กระทรวงมหาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2564) สถานการณ์การเกิดอัคคีภัยในอาคารครั้งสำคัญของไทย.

เกษมสุข สุขศรีสวัสดิ์. (2565). มาตรฐาน NFPA คืออะไร?. สืบค้น 21 มีนาคม, 2565, จาก www.changfi.com

คณะกรรมการร่างมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัย 3002 ประจำปี 2543-2544, 2545. มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย. กรุงเทพฯ : วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.

จักรกฤษณ์ มะดารักษ์. (2554). การประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัย กรณีศึกษา : อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (Master’s Thesis, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์). สืบค้น 20 ธันวาคม, 2564, จาก https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/107290

ดิชา คงศรี. (2554). ประสิทธิผลของการนำนโยบายการป้องกันอัคคีภัยในอาคารไปปฏิบัติ: ศึกษาเฉพาะกรณีกรุงเทพมหานคร (Master’s Thesis, มหาวิทยาลัยรามคำแหง). สืบค้น 12 สิงหาคม, 2564, จาก https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/107290.

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522, เล่ม 96 ตอนที่ 80 ฉบับพิเศษ หน้า 1 (2522).

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฉบับที่ 2 พ.ศ. 25

, เล่ม 109 ตอนที่ 39 หน้า 1 (2535).

พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2542, เล่ม 116 ตอนที่ 28 ก หน้า 1 (2542).

วิชัย สุขคลีวนัติ และ อภิชาต แจ้งบำรุง. (2555). การศึกษาและวิเคราะห์

ระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคารขนาดใหญ่พิเศษ กรณีศีกษา: อาคารคุ้มเกล้าโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. (Master’s Thesis, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์). สืบค้น 3 พฤศจิกายน, 2564, จากhttps://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/107290

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2534). มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.

เสถียร เจริญเหรียญ. (2550). ประมวลข้อบังคับอาคาร (Building Code) ของประเทศสหรัฐอเมริกา. วารสารกรมโยธาธิการและผังเมือง, 2550(21), 23-28.

สมมาศ เลิศลักษณ์อรรยา. (2559). ระบบป้องกันอัคคีภัยกับการจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัย (Doctoral Dissertation, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์). สืบค้น 16 ธันวาคม, 2564, จาก https://so01.tci-thaijo.org.

Ansell, C., & Gash, A. (2008). Collaborative Governance in Theory and Practice. Journal.

Gash, A. (2016). Cohering Collaborative Governance. Journal of Public Administration Research and Theory, 27(1), 213-216. doi: 10.1093/jopart/muw047.

Loftland, J. (1971). Analyzing social settings; a guide to qualitative observation and analysis. Belmont, Calif., Wadsworth Pub. Co.

https://www.bbc.com/thai/international-43537797

https://d.dailynews.co.th/foreign/617701/

https://www.thairath.co.th/news/foreign/1239071.

https://www.thairath.co.th/news/foreign/972333

https://th.wikipedia.org/wiki/วินาศกรรม_11_กันยายน

https://www.ryt9.com/s/ryt9/232881

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15