การสังเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตปกติวิถีใหม่
คำสำคัญ:
การดำเนินชีวิตปกติวิถีใหม่, การสังเคราะห์, หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตปกติวิถีใหม่ 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อสังเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตปกติวิถีใหม่ ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอด้วยการอธิบายแบบเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1) การดำเนินชีวิตปกติวิถีใหม่ คือ รูปแบบและแนวทางการดำเนินชีวิตที่สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน 2) หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ หลักธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย หลักไตรสิกขา หลักสังคหวัตถุ และหลักอิทธิบาท เป็นแนวทางเสริมสร้างการประพฤติปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและส่วนรวม เพื่อนำมาบูรณาการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ให้เกิดความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข
3) การสังเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ การประยุกต์ใช้หลักธรรมให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตปกติวิถีใหม่ (1) ด้านการครองตน พบว่า การนำหลักไตรสิกขามาใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อบูรณการหลักธรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต (2) ด้านการครองคน พบว่า การนำหลักสังคหวัตถุมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อบูรณการหลักธรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติงานร่วมกันในองค์กร และหน่วยงาน (3) ด้านการครองงาน พบว่า การนำหลักอิทธิบาทมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อบูรณาการหลักธรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเอง องค์กร และหน่วยงาน ให้ประสบความสำเร็จ
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneu monia/index.php
กรุณา มธุลาภรังสรรค์ และคณะ. (2563). การนำหลักสังคหวัตถุธรรมมาใช้สร้างความมั่นคงในการดำเนินชีวิตของสตรี จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 10(2), 42-49.
ชินชัย แก้วเรือน และคณะ. (2558). การบูรณาการการครองใจคนตามแนวทางพระพุทธศาสนา. วารสารพิฆเนศวร์สาร. 11(2), 155-168.
เดชชาติ ตรีทรัพย์, พรครูปัญญาธีรธรรม (ศรีแก้ว) บัญญัติ แพรกปาน. (2559). การนำหลักไตรสิกขามาใช้ในชีวิตประจำวันของประชาชนเทศบาลตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 3(2), 14-26.
ธีรวัฒน์ เจริญผล, กันตภณ หนูทองแก้ว, พระสุริยา สุริโย (คงคาไหว) และคณะ. (2561). การนำหลักอิทธิบาทธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอลานสกา อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมาราช. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์. 3(1), 66-80.
พระบุญเพ็ง สิทธิวงษา และคณะ. (2562). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 5(5), 2459-2480.
พระมหาศิริพงศ์ จนฺทปาโมชฺโช และคณะ. (2563). การประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนลำปลายมาศ ตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวนัมฏองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. (7)1, 1-14.
พระวาทิน กนฺตสีโล (บัวบุญ). (2558). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองทุ่ม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 4(1), 184-197.
พระโสภณ โสภโณ (ทองสม), พระครูโฆสิตวัฒนากุล และพระครูวิจิตรศีลาจาร. (2563). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนวัดใหม่ทุ่งคาอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(3), 15-25.
พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2558). ความรู้ อำนาจและสุขภาพ : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 11, 35. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2563). รายงานโครงการการพัฒนากรอบยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
รัฐบาลไทย. (2563). ข่าวทันสถานการณ์โควิด-19. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563, จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27854
รัฐบาลไทย. (2563). ประกาศและคำสั่ง. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563, จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27963
วิไลวรรณ อาจาริยานนท์. (2559). รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขตามหลักพุทธธรรมสำหรับผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เสกสันต์ บุญยะ. (2549). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารบุคคลของผู้บริหาร โรงเรียนพระปริยัติธรรมขนาดเล็ก แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์