การดำเนินชีวิตตามหลักอิทัปปัจจยตา
คำสำคัญ:
หลักอิทัปปัจจยตา, การดำเนินชีวิตบทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่อง “การดำเนินชีวิตตามหลักอิทัปปัจจยตา” มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักอิทัปปัจจยตา เพื่อให้การดำเนินชีวิตสอดคล้องกับกระบวนการของธรรมชาติมีความสมดุลและมีความสุขอย่างยั่งยืน ผลการวิเคราะห์พบว่า การดำเนินชีวิตตามหลักอิทัปปัจจยตา เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีดุลยภาพ พอเหมาะพอดีนั้น มี 2 แนวทางคือ 1) รู้และเข้าใจกฎของธรรมชาติและชีวิตตามหลักอิทัปปัจจยตา ได้แก่ หลักเหตุและผล หลักไตรลักษณ์ หลักความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของสรรพสิ่ง และหลักความสมดุล 2) รู้ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรในการดำเนินชีวิตตามหลักอิทัปปัจจยตา ประกอบด้วย 2.1) หลักเหตุและผล คือ ต้องรู้ธรรมชาติของกายใจ สืบสาวหาเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์สืบทอดกันของกายใจและส่วนที่เกี่ยวข้อง และลงมือทำเหตุให้สอดคล้องกับผลที่ต้องการ 2.2) หลักไตรลักษณ์ คือ ไม่ประมาทต้องมี การเตรียมความพร้อมในกิจทั้งปวง 2.3) หลักความสัมพันธ์เชื่อมโยง คือ พิจารณาเหตุและผล ตลอดจนความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่างเหตุและผลของเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิต เพื่อให้สามารถหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด 2.4) หลักความสมดุล คือ ดำเนินชีวิตด้วยการเรียนรู้อยู่กับความเป็นจริง พิจารณาอิทัปปัจจยตาของสรรพสิ่งรอบตัวอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในช่วงปฏิบัติวิปัสสนาในรูปแบบและในชีวิตประจำวัน
References
บุญมี แท่นแก้ว. (2552). จริยธรรมกับชีวิต. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
พุทธทาสภิกขุ. (2557). อิทัปปัจจยตา, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ธรรมทานมูลนิธิ.
พูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล. (2564). ผลกระทบของเทคโนโลยี.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). ( 2551). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, พิมพ์ครั้งที่ 32. กรุงเทพฯ:เอส.อาร์. พริ้นติ้งแมส โปรดักส์.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. โรงพิมพ์มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2547). ปรัชญาทั่วไป. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สานิตย์ หนูนิล และกนกวรา พวงประยงค์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่ในชนบทไทย. วารสารพัฒนาสังคม. 21 (2), 179.
อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Giddens, A. (1991). Odernity and self-identity: self and society in the late modern age. Retrieved March 11, 2022, from https://books.google.co.th/books/about/ Modernity_and_Self_identity.html?id=Jujn_YrD6DsC&redir_esc=y
Ropke, I. (1999). The Dynamics of Willingness to Consume. Ecological Economics, ā28; 399-420.
Spaargaren, G. and B. VanVlie. (2000). Lifestyle, Consumption and the Environment: The Ecological Modernisation of Domestic Consumption. Environmental Politics. 9 (1), 1-16.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์