การพรากชีวิตมนุษย์ในทัศนะพุทธจริยศาสตร์

ผู้แต่ง

  • อภิโชค เกิดผล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาบุญไทย ปุญฺญมโน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพรากชีวิตมนุษย์, พระธรรม, พระวินัย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเรื่องการพรากชีวิตมนุษย์ในทัศนะของพุทธ จริยศาสตร์ โดยจากการศึกษาพบว่าการพรากชีวิตมนุษย์ถือเป็นการกระทำที่ชั่วร้ายโดยสามัญสำนึกทางศีลธรรมของมนุษย์ในทุกอารยธรรมทั่วทั้งโลก ทุกระบบคิดทางปรัชญาต่างก็มีทัศนะต่อต้าน              การพรากชีวิตมนุษย์รวมกระทั่งพุทธปรัชญา ในพุทธปรัชญามีระบบประเมินคุณค่าในทางจริยศาสตร์อยู่ด้วยกันสองระดับ ได้แก่ ในระดับพระธรรมและพระวินัย โดยการประเมินคุณค่าในทางจริยศาสตร์ว่าด้วยการพรากชีวิตมนุษย์ทั้งในระดับพระธรรมและพระวินัยนั้นต่างก็มีทั้งในส่วนที่เหลือมซ้อนทับกันและทั้งในส่วนที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามพระธรรมในสถานะของกฎเกณฑ์ของสากลจักรวาลทั้งหมดซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่มีความจริงแท้เป็นปรมัตถ์ทำให้ไม่มีสิ่งอื่นใดที่สามารถจะปฏิเสธกฎแห่งพระธรรมได้ ดังนั้นแล้วการประเมินคุณค่าในทางจริยศาสตร์ว่าด้วยการพรากชีวิตมนุษย์ในพระวินัยจึงอาจจะบัญญัติให้มีเนื้อความแตกต่างจากที่ปรากฏในพระธรรมได้แต่ต้องสอดคล้องกับพระธรรมเสมอ

References

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2548). จริยธรรมของนักกฎหมาย รวมคำบรรยายหลักวิชาชีพนักกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูศรีปริยัติการ และ พระศรีวิสุทธิคุณ. (2559). คัมภีร์มหาวิภังค์ภาค 2 พระวินัยปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนครศรีอยุธยา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 27. มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พระมหาทวี ฐานวโร. (2535). ปาณาติบาตกับปัญหาจริยธรรมในพุทธปรัชญา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิจิตร กลฺยาณจิตฺโต. (2559). คัมภีร์มหาวิภังค์ภาค 1 พระวินัยปิฎก, พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนครศรีอยุธยา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมชาย ปโยโค. (2556). พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาปาณาติบาตในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ ฉบับพิเศษ พระปัญญาของพระพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติ, 8, 466 – 487. กรุงเทพ: บริษัท 21 เซนจูรี่ จำกัด.

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. (2525). ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสัคหฎีกา ปริเฉทที่ 5 เล่ม 2. กรุงเทพฯ: สุทธิสารการพิมพ์.

สีวลี ศิริไล. (2529). การศึกษาเชิงวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ จริยธรรม และเกณฑ์ตัดสินปัญหาจริยธรรมทางการแพทย์ในสมัยปัจจุบัน. คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15