ปัญหาการเรียนรู้พระพุทธศาสนาของเยาวชนไทย

ผู้แต่ง

  • พระศรีรัชมงคลบัณฑิต คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • แหวนทอง บุญคำ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • กำธร เพียเอีย คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • วิธวินท์ ภาคแก้ว คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • นิคม ปาทะวงศ์ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปัญหาการเรียนรู้, พระพุทธศาสนา, เยาวชนไทย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและพฤติกรรมการเรียนรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาของเยาวชนไทย ที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี เพื่อศึกษาปัญหาการเรียนรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาของเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปีและเพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาทางด้านพระพุทธศาสนาสำหรับเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-24 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 9,140,544 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 440 คน การรวบรวมข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม จำนวน 440 ชุด และเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์กลุ่ม จำนวน 20 คน การวิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน และประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์สังเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ข้อมูลทั่วไปของเยาวชนอยู่ที่ค่าเฉลี่ย ปานกลาง

ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าปัญหาการเรียนรู้พระพุทธศาสนาของเยาวชนไทย ในลักษณะเดียวกันคือการเรียนรู้ไม่เข้าใจในเรื่องที่ลึกซึ้งเกินไป ควรใส่เนื้อหาพระพุทธศาสนาที่ประยุกต์เข้ากับยุคสมัยมีความแปลกใหม่ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายจะได้ไม่เกิดความเบื่อหน่ายของผู้ฟัง

 

References

กองทุนประชากรสหประชาชาติ (UNFPA) . (2560). รายงานประชากรไทย พ.ศ. 2561: การลงทุนกับเยาวชน. สืบค้น 1/03/ 2562. https://thailand.unfpa.org/sites/default/files/pub-

pdf/UNFPA%20Presentation_28-Nov-2017.pdf)

จันทนา อุดม และคณะ. (2559). สถาบันหลักของสังคมกับการพัฒนาเยาวชน. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11 (2), 235-236.

จิราภา เต็งไตรรัตน์.(2554). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2562). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหาบุญเรียน แก้ววงษ์น้อย. (2544) (อ้างใน พระมหากำพล คุณงฺกโร,2557). การพัฒนาเยาวชนแนวพุทธ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1(2). https://www.un.org

documents › youth › fact-sheetsPDF. สืบค้น 5 มีนาคม พ.ศ. 2565.

พงศกร มงคลหมู่ (2563). การจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธธรรม. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 1, ( 1 ), 59-69.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2538). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร:

มูลนิธิสยามกัมมาจล. สืบค้น 24 มีนาคม 2564 อ้างจากเว็บไซต์

https://www.gotoknow.org/posts/646525.

สิริอร วิชชาวุธ. (2554). จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15 — Updated on 2022-11-15

Versions