กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศนอร์เวย์ของพระธรรมทูตไทย
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในนอร์เวย์ และ 3) เพื่อเสนอกลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในนอร์เวย์ โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและทำการวิเคราะห์ศักยภาพของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในนอร์เวย์ ด้วยระบบ Diamond Model ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ สถานะปัจจัยการเผยแผ่ สถานะอุปสงค์ การเผยแผ่ที่เกี่ยวเนื่องและสนับสนุน ยุทธการ โครงสร้าง สภาพการแข่งขันของวัดและพระธรรมทูตไทย ทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน สภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนทำการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งมีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานรวมทั้งความต้องการพัฒนากลยุทธ์ในอนาคตตามลำดับ จากนั้นจึงเป็นการวิเคราะห์ TOWS Matrix เพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์เพื่อหาแนวทางการพัฒนา กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศนอร์เวย์ของพระธรรมทูตไทย
ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาการเผยแผ่วัดและพระธรรมทูตไทยในต่างแดน กรณีกลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศนอร์เวย์ของพระธรรมทูตไทย ผลจากการวิเคราะห์ที่ถือเป็นองค์ความรู้ใหม่ พบว่ามีกลยุทธ์ในการพัฒนาทั้งหมด 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) การพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานสากล 2) การพัฒนาวัดและพระธรรมทูตไทย เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) การเผยแผ่ประชาสัมพันธ์และการตลาดเชิงรุกด้านพระพุทธศาสนาสู่ต่างแดน 4) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนคนไทยในต่างแดนเพื่อสร้างความเข้มแข็งของพระพุทธศาสนา วัด ชุมชน พระสงฆ์ หน่วยงานภายในท้องถิ่นต่างแดน นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐภายในประเทศ เช่น มหาเถรสมาคมหรือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ควรส่งเสริมและยกฐานพระธรรมทูตที่ไปประจำในต่างแดน
References
กรมวิชาการ. (2549). ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (Item-Objective Congruence Index : IOC). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กฤษติญา มูลศรี. (2563). การจัดการเชิงกลยุทธ์. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ทรงวิทย์ แก้วศรี. (2550). การศึกษาวิเคราะห์ยุทธวิธีในการประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้า. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2548). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.
พระครูวิเวกวราภรณ์ (ประสทธิ์ ฐานวโร). (2555). บทบาทของพระธรรมทูตที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อําเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, การจัดการเชิงพุทธ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2548). การเผยแผ่เชิงรุก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุเทพ สุวฑฺฒโน (เหลาทอง). (2561). กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระรรมทูตสายต่างประเทศ. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระไพโรจน์ อตุโล (สมหมาย). (2556). วิเคราะห์บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระรักษ์พล กุลวฒฺโน. (2557). พระกรรมฐานกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: หจก. นารายณ์ อิมเมจ แอนด์ พริ๊นท์.
พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติ์ขจร. (2553). ผู้นำการบริหารยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2545). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรมดา.
สมชาย เทพแสง และอัจฉริยา เทพแสง. (2563). กลยุทธของผู้นำร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: Jessada Konkaew.
สารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย. แผนที่ประเทศนอร์เวย์. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/% E0%B8%9B%E0 สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2565.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์