ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตผลทางการเกษตรของผู้บริโภค ในเขตอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
ปัจจัย, การตัดสินใจ, ผลิตผลทางการเกษตร, จังหวัดสระแก้วบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อผลิตผลทางการเกษตรของผู้บริโภคในเขตอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลการตัดสินใจซื้อผลิตผลทางการเกษตรของผู้บริโภคในเขตอำเภออรัญประเทศจังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคในเขตอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคที่มีอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพแตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อผลิตผลทางการเกษตรแตกต่างกัน 2) ปัจจัยจูงใจด้านราคา (X2) ด้านสถานที่/ช่องทางการจัดจำหน่าย (X3) ด้านการส่งเสริมทางการตลาด (X4) ด้านความต้องการซื้อพืชผลทางการเกษตร (X6) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตผลทางการเกษตร และตัวแปรทั้ง 4 ตัวแปรสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของการตัดสินใจซื้อผลิตผลทางการเกษตรของผู้บริโภค ได้ร้อยละ 70.30
References
ชนิสรา แก้วสวรรค์. (2564). การพัฒนาศักยภาพด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกจิชุมชนแปรรูปผลผลิตเกษตรอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 10(2), 92-108.
ฑัตษภร ศรีสุข. (2563). แนวทางการพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปภายใต้โครงการผลักดันเกษตรกรก้าวสู่เกษตรกรปราดเปรื่องของจังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 39-51.
นาตยา ดวงประทุม. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของแรงงานภาคเกษตรกรรมในอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 (น.755-763). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ดลนัสม์ โพธิ์ฉาย. (2562). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคผลไม้พรีเมียม กรณีศึกษาผู้บริโภคในอําเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรพิมล สระทองปังและคณะ (2561). พฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดนัดสุขใจ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(2),185-192.
วรรณา โชคบรรดาลสุข, กุลยา อนุโลก, วรลักษณ์ ทองประยูร, และลำใย มีเสน่ห. (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของผลิตภัณฑ์มะพร้าวแปรรูปในจังหวัดราชบุรีด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสมาคมวิจัย, 25(1), 77-91.
ศานิต ปิ่นทอง, นิรันดร์ ยิ่งยวด, และวรรณี เนียมหอม. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิตมะพร้าวอินทรีย์ของเกษตรกรอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 12(1), 192-211.
ศิริพงษ์ ฐานมั่น และ นิรินธนา บุษปฤกษ์. (2562). การศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและพฤติกรรมผู้บริโภคโดยกระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(1), 111-124.
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดสระแก้ว ประจำปีงบประมาณ 2564. สืบค้นจาก https://www.opsmoac.go.th/sakaeo-dwl-files-431491791167
สุริยา ศศะรมย์และณัฐดนัย ประพันธ์พจน์ (2561). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อปลาสลิดแปรรูปภายใต้บรรจุภัณฑ์ในตลาดวัดบางพลีใหญ่ใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี,12(พิเศษ),184-192.
สุภัค ภักดีโต และ ไกรชิต สุตะเมือง (2556). แรงจูงใจในการบริโภคข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคในวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และ การบริหารธุรกิจ 3(1),547-597.
อรุณโรจน์ เอกพณิชย์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อน้ำผักและผลไม้อินทรีย์แบบสกัดเย็น ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัมรัตน์ บุตรโสภา. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าเกษตรผ่านเครือข่ายออนไลน์ด้วยเทคนิคการวัดพฤติกรรมเชิงเส้นแบบหลายกลุ่มของกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอร์เรชั่น บี เอ็กซ์ และวาย. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wilay & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์