ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการสถานบริบาลผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธำรงศักดิ์ ดำรงศิริ กองบัญชาการศึกษา วิทยาลัยการตำรวจ

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ; , สถานบริบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ และปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการสถานบริบาลผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุจำนวน 220 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐาน ด้วยค่า t-test, One-way ANOVA และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)  ผลการวิจัย พบว่า 1) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ที่แตกต่างกันในด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่งผลต่อการการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบริบาล ไม่แตกต่างกัน ส่วนในด้านอาชีพที่แตกต่างกัน มีระดับการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบริบาล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 2) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบริบาลของผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร  ส่วนอีก 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านบุคคล ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบริบาลของผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร

References

กรมพัฒนาธุรกิจ.(2561). คู่มือพัฒนาธุรกิจบริการผู้สูงอายุสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจ.กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์.

กระทรวงสาธารณสุข.(2563). แนวทางการขับเคลื่อนระบบสุขภาพรองรับสังคมสูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข และแผนบูรณาการ ขับเคลื่อนระบบสุขภาพรองรับสังคมสูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2563-2565.กระทรวงสาธารณสุข.

ณัฐฐา เสวกวิหารี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโรงพยาบาลรามาธิบดี.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฑิตาพร รุ่งสถาพร. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภคต่อการซื้อสินค้าบนช่องทางออนไลน์ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และพิษณุโลก.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นนทนัตถ์ รัตนกุญชร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับบริการโรงพยาบาลรัฐแบบพรีเมี่ยมและโรงพยาบาลเอกชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35 (4) (ตุลาคม – ธันวาคม),55-73.

พิศณู ฟองศรี.(2553). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่2).กรุงเทพมหานคร: ต้นแก้ว.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ.(2542). การวิเคราะห์ผู้รับสาร.กรุงเทพมหานคร : ที. พี. พริ้นท์.

โยษิตา นันทิภาคย์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านค้ามัลติแบรนด์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ประเภท Instagram ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย .วารสารรัชต์ภาคย์, 14 (36), (กันยายน – ตุลาคม).

รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์.(2551). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

ศิิริวรรณ เสรีรัตน์. (2542). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16 (3), 297-334.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-14