การประยุกต์ใช้หลักพุทธจริยศาสตร์ในงานสังคมสงเคราะห์
คำสำคัญ:
การประยุกต์; , พุทธจริยศาสตร์; , สังคมสงเคราะห์บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้หลักพุทธจริยศาสตร์ในงานสังคมสงเคราะห์ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีงานสังคมสงเคราะห์ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์ 3) เพื่อประยุกต์ใช้ หลักพุทธจริยศาสตร์ในงานสังคมสงเคราะห์ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า งานสังคมสงเคราะห์ เป็นการปฏิบัติงานที่ให้ความช่วยเหลือแก่บุคคล ชุมชน และสังคมที่กำลังประสบปัญหาและไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยใช้หลักการ วิธีการ และกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ ตลอดจนแนวคิดและทฤษฎีเป็นเครื่องมือในการอธิบายถึงสภาพปัญหาสังคม พฤติกรรมและความต้องการของมนุษย์ และนักสังคมสงเคราะห์ที่ดีต้องมีจรรยาบรรณเป็นแนวทางในการประพฤติให้ดำรงตนอยู่ในความดีงาม
พุทธจริยศาสตร์ เป็นหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยความประพฤติที่ดีงามซึ่งถูกค้นพบโดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาในระดับบุคคล ชุมชน และสังคม หลักธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในงานสังคมสงเคราะห์ คือ สังคหวัตถุ 4 สาราณียธรรม 6 และอคติ 4 การปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนย่อมทำให้มนุษย์ได้รับการพัฒนาทางจิตใจและพุทธจริยศาสตร์ยังมีเกณฑ์การตัดสินที่ชี้ขาดลงไปถึงการกระทำของมนุษย์
การประยุกต์ใช้หลักพุทธจริยศาสตร์ในงานสังคมสงเคราะห์ หลักพุทธจริยศาสตร์มีความจำเป็นและมีความสำคัญต่องานสังคมสงเคราะห์ เพราะนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้ที่มีบทบาท ให้ความช่วยเหลือผู้ใช้บริการและกลุ่มเป้าหมายในระดับบุคคล ชุมชน และสังคม ซึ่งหลักพุทธจริยศาสตร์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการที่ประสบปัญหา และนำไปพัฒนาสังคมเพื่อสร้างสวัสดิภาพและความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม
References
คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง. (2546). หนังสือบูรณาการแผนใหม่ นักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเชียง.
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2548). จริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. (2538). ปรัชญา 201 พุทธศาสน์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.
ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. (2542). การสังคมสงเคราะห์ชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์. (2540). ทฤษฎีและการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นงลักษณ์ เอมประดิษฐ์. (2535). นักสังคมสงเคราะห์กับการพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญมี แท่นแก้ว. (2541). ปรัชญา. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2548). ธรรมปริทรรศน์ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อศึกษาพุทธศาสตร์ ชุดคำวัด. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเชียง.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). ภูมิธรรมชาวพุทธ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 2, 11-21. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วันทนีย์ วาสิกะสิน และคณะ. (2538). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสวัสดิการและสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2550). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.
พระมหาธนาศักดิ์ สุตธโน (สุดสุข). (2563). ศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก.วิทยานิพนธ์ปริญญา ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหานนทรัตน์ ชยานนฺโท (วงศ์ปทุม). (2563). การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในคัมภีร์ธรรมบท. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
เพ็ญศรี วังเสรีพิพัฒน์. (2562). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการปฏิบัติงานของกลุ่มจิตอาสา โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
เหลา อินเหลา. (2563). ศึกษาการแก้ปัญหาความขัดแย้งตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Journal of Philosophical Vision
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์