การถอดบทเรียนการใช้กระบวนการควบคุมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนหมู่บ้านป่าไผ่และหมู่บ้านแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ดิชฐ์พิเชษ สุวรรณโพธิ์ คณะสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • รศ.พ.ต.อ.ดร. กัญญ์ฐิตา ศรีภา คณะสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

กระบวนการควบคุมทางสังคม; , ชุมชนเข้มแข็ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการควบคุมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งของชุมชน 2)  เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการใช้กระบวนการควบคุมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งของชุมชน 3) เพื่อถอดบทเรียนวิธีการปฏิบัติที่ดีในการใช้กระบวนการควบคุมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนหมู่บ้านป่าไผ่และหมู่บ้านแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 13 คน และผู้เข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  จำนวน 30 คน เครื่องมือในการวิจัยใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์เอกสาร และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกและจัดระบบข้อมูล

          ผลการวิจัยพบว่า 1. มีการใช้กระบวนการควบคุมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งของชุมชน หลายประการ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากวัฒนธรรมความเชื่อ เป็นแนวการดำเนินชีวิตในกรอบความคิดตามความศรัทธาต่อความเชื่อ  กลุ่มคนที่อยู่ในชุมชนที่มีความศรัทธา จะเป็นพลังกลุ่มให้เข้าร่วมกิจกรรมหรือแสดงพฤติกรรมตามความเชื่อ 2. จากประเด็นด้านปัญหาและอุปสรรคพบว่า ปัญหาขาดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการแก้ปัญหาของชุมชน อาจเป็นเพราะการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ต้องเกิดจากจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อชุมชนของตนเอง ปัญหาด้านบทบาทและศักยภาพของผู้นำในชุมชน  ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะผู้นำควรมีภาวะผู้นำ ตระหนักต่อปัญหายาเสพติด มีบทบาทในการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ มีการรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหายาเสพติด 3.  ประเด็นผลการถอดบทเรียนวิธีการปฏิบัติที่ดีในการใช้กระบวนการควบคุมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง ที่พบว่า กลยุทธ์ในการสร้างชุมชนเข้มแข็งของชุมชนของชุมชนหมู่บ้านป่าไผ่และหมู่บ้านแม่โป่ง 5 ประการ ได้แก่ 1) การบริหารจัดการชุมชน  2) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชุมชน 3) การสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการบริหารจัดการชุมชน 4) การสร้างเครือข่ายการบริหารจัดการชุมชน และ 5) การป้องกันชุมชนของตนเอง

References

ประยุทธิ์ วะนะสุข. 2563. การสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน กรณีจังหวัดลพบุรี.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 12 (1), 347-361.

รุ่งทิพย์ กล้าหาญ. 2560. กระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยหลักพุทธธรรมในหมู่บ้านป่าไผ่ ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่. ในรายงานวิจัยเชียงใหม่: มหาวทิยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

สุภางค์ จันทวานิช. 2553. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 17.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. 2563. แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาสเสพติด พ.ศ. 2563. กรงุเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด.

เอกชัย ไชยอำพร. 2560. รูปแบบและวิธีการควบคุมทางสังคมต่อความเป็นหนึ่งเดียวกัน: กรณีศึกษาชุมชนพฤกษา. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการพัฒนาสังคม.กรุงเทพ ฯ: สถาบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. 2562. การถอดบทเรียนการจัดการชุมชนทุ่งตำเสา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39 (3),63-80.

Barry B. Powell. 2003. Classical Myth. University of wissconsin-madison New Jersey: Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-11