ยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย ของวัดไทยนาลันทา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย

ผู้แต่ง

  • พระมหาทศพร ทสวโร (ชนันชนะ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
  • พระครูสิริสุตานุยุต, ผศ. ดร. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์; , การเผยแผ่; , พระพุทธศาสนา; , วัดไทยนาลันทา; , ประเทศอินเดีย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดไทยนาลันทา และ 3) เสนอยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดไทยนาลันทา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อให้ได้ข้อมูลสำคัญมาวิเคราะห์สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า การเผยแผ่ในสมัยพุทธกาลมีวิธีการที่หลากหลายโดยเริ่มจากวิธีมุขปาฐะ สู่ยุคหลังพุทธกาลมีการจดบันทึกคำสอนลงใบลานและหนังสื่อ และมีการขยายงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ต่อมามีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย ซึ่งวัดไทยนาลันทาได้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียจนถึงปัจจุบัน ปัญหาที่พบในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียของวัดไทยนาลันทา คือ 1) ปัญหาข้อจำกัดในการปฏิบัติศาสนกิจในประเทศอินเดีย 2) ปัญหาการใช้ภาษาในการสื่อสารกับคนอินเดีย 3) ปัญหาสภาพบริบททางสังคมอินเดีย 4) ปัญหาโครงสร้างการจัดการภายในวัด 5) ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 และ 6) ปัญหาสภาพภูมิอากาศ วัดไทยนาลันทามีวิสัยทัศน์ที่จะนำพระพุทธศาสนากลับคืนสู่ประเทศอินเดีย จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างคนเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างวัดสาขาของวัดไทยนาลันทา ยุทธศาสตร์ที่ 3 แผนการรองรับคณะผู้แสวงบุญ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การวางแผนการดำเนินงานของวัดไทยนาลันทา

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2560. พระพุทธศาสนาเถรวาท (Theravda Buddhism). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นางสาวกฤติยา วโรดม. 2558. พัฒนาการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล. สารนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญร่วม คำเมืองแสน, สำราญ ศรีคำมูล, อัคริมา มณีเลิศ. 2560. รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในประเทศอินเดีย. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 8(2), 233-234.

บุศรา โพธิสุข, เสน่ห์ ใจสิทธิ์, สราวุฒิ วะสารชัย และพระมหาวรวัฒน์ อภินนฺโท (วิชัย). 2560. การบริหารกิจการคณะสงฆ์ของวัดไทยในประเทศอินเดีย. พิฆเนศวร์สาร. 13(2), 1-20.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). 2548. การเผยแผ่เชิงรุก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พุทธวิธีในการสอน. 2541. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.

พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทฺโธ). 2560. สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล. พิมพ์ครั้งที่ 5. ม.ป.ท.

พระธรรมโกศาจารย์ (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต). 2552. ธรรมประกาศโนบาย. บทบรรยายในโครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2552, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.watprayoon.com/main.php?url=book_ view&id=30. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2564.

พระมหาปราโมทย์ มหาวีริโย (ปีกรม). 2548. การศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระราชรัตนรังสี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) ในฐานะพระธรรมทูตไทยประจำประเทศอินเดีย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2535. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. 2561. คู่มือการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Planning Manual) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 3. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-12