นวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • กิตติยา ระวะนาวิก วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ฉัตรวรัญช์ องคสิงห วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

นวัตกรรมการบริหารจัดการ; , การมีส่วนร่วมของชุมชน; , การพัฒนาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาศึกษากระบวนการ องค์ประกอบและปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นของนวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษานวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวิธีการศึกษาวิจัยประกอบด้วย 1) การศึกษาจากข้อมูลเอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 3) แบบสนทนากลุ่มย่อยกับกลุ่มผู้ปฏิบัติและประชาชนในพื้นที่ และ 4) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม จากผู้ให้ข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 45 คน โดยให้หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเหตุการณ์แบบอิงทฤษฎี

ผลจากการศึกษา พบว่า 1) นวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่นมีต้นทุนทางสังคมสำคัญเป็นสิ่งที่ผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชนเป็นการรวมกลุ่ม การสร้างเครือข่าย การประสานงานทั้งภายในและภายนอกชุมชนสร้างเสริมพลังในชุมชน เกิดเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น และ 2) นวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้นำที่เป็นทางการและผู้นำที่ไม่เป็นทางการมีวิสัยทัศน์การแก้ไขปัญหาในทุกมิติ บูรณาการในการบริหารงาน เกิดจากความไว้วางใจกันและกัน โดยเน้นการใช้ทรัพยากรภายในชุมชนสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผนเกิดขึ้นในชุมชน  และการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม องค์การบริหารส่วนตำบลในแต่ละพื้นที่ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม โปร่งใส ตรวจสอบได้จนประสบความสำเร็จพร้อมเป็นแบบอย่างที่ดีอย่างยั่งยืน

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย: เอกสารตำราหลักประกอบการเรียนการสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น วิชาการเมืองการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

วิชาญ ฤทธิธรรมและคณะ. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลนครสกลนคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สถาบันพระปกเกล้า.(2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ.นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

สถาบันพระปกเกล้า. (2554). ประมวลการดำเนินการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการของจังหวัดที่เป็นกรณีศึกษาที่ดี (Best Practices). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

สมบัติ นามบุรี. (2562). นวัตกรรมและการบริหารจัดการ.วารสารวิจัยวิชาการ , มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2546). คู่มือคำอธิบายและแนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้ง.

Bourdieu, P. (1997) ‘The Forms of Capital’ in Halsey, A.H., H. Lauder, P. Brown and A.S. Wells (eds). Education: Culture, Economy, Society. Oxford: Oxford University Press.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Developments.

Putnum, (2002). Democracy in Flux: The Evolution of Social Capital in Contemporary Society. Cited in Somsak Samakeydham. Rom Phruek Journal. 10(1): 162–176.

Schumpeter, J. (1975). Capitalism, Socialism, and Democracy. NY: Harper.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-12