การใช้อำนาจของผู้บริหารกับความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • ณัฐชนนท์ คงอยู่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การใช้อำนาจ; , ความสุขในการทำงาน; , สถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 จำนวน 95 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้อำนาจของผู้บริหารและความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยสามารถเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ อำนาจอ้างอิง อำนาจตามกฎหมาย อำนาจการให้รางวัล อำนาจเชี่ยวชาญ และอำนาจบีบบังคับ ตามลำดับ 2) ความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน โดยสามารถเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ การเป็นผู้ที่รักและดูแลองค์กร/สังคมของตนเองได้ และการเป็นผู้ที่รักและดูแลครอบครัวตนเองได้ ตามลำดับ และอยู่ในระดับมาก 6 ด้าน โดยสามารถเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ การเป็นผู้มีคุณธรรมและความกตัญญู การเป็นผู้มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น การเป็นผู้รักการเรียนรู้และเป็นมืออาชีพในงานของตนเอง การเป็นผู้ที่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเอง การเป็นผู้มีสุขภาพดีดูแลตนเองไม่ให้เป็นภาระของผู้อื่น และการเป็นผู้ใช้เงินเป็น ตามลำดับ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ และธีร์ธรรม วุฑฒิวัตรชัยแก้ว. (2559). องค์กรแห่งความสุข, กรุงเทพมหานครฯ:

บริษัทแอทโฟร์พรินท์จำกัด.

ณัฐพล หงส์คง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความสุขของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี. วารสารบัณฑิตวิจัย,

(1), 135-148.

ทัศนีย์ รัตนบุรี. (2562). ความสุขในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา, 16(74), 11-19.

บราลี สุขบำเพ็ญ. (2562). การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 6(1), 57-75.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานครฯ: ยูแอนไอ อินเตอร์ มีเดีย.

ศศิรดา แพงไทย. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 6 (1), 7-11.

ศิริวรวรรณ จันทะมาตร. (2564). การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(3), 660-672.

สำนักข่าวอิศรา. (2562). เปิด 6 อุปสรรคการทำงานของครูไทย. เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.trainkru.com/6-อุปสรรคสำคัญของครูปัจจุบัน/สาระความรู้/

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. (2563). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. (เอกสารอัดสำเนา)

_______. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. (เอกสารอัดสำเนา)

_______. (2564). แผนอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. (เอกสารอัดสำเนา)

สุธิศา เกตุแก้ว. (2564). การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(3), 546-553.

อภินันท์ ข่าขันมะลี. (2563). การใช้อำนาจของผู้บริหารกับความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(6), 156-166.

อรรถพล พึ่งพานิช. (2561). การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษาและ ภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 6(24), 230-237.

Best, John W. (1997). Research in Education, 2nd ed. New Jersey: Prentice–Hall, Inc.

Cronbach, Lee J. (1974). Essentials of Psychological Testing, 3rd ed. New York: Harper & Row Publisher.

French, John R.P., and Bertram Raven. (1959). The Bases of Social Power. Ann Arbor: Institution for the Social Research University of Michigan.

Krejcie, Robert V., and Daryle w. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal for Educational and Psychological Measurement. (3), 607-61

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-08