การรับมือและการจัดการของสายการบินโอมานแอร์ ในสถานการณ์แพร่ระบาด โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • พรศิริ แสงขำ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต, ประเทศไทย
  • ฉัตรวรัญช์ องคสิงห วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การรับมือ, พนักงานสายการบิน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาเรื่องการปรับตัวในด้านการทำงานของลูกเรือสายการบินโอมานแอร์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และ 2) เพื่อหาแนวทางการดำรงชีวิตของลูกเรือสายการบินโอมานแอร์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญในครั้งนี้ คือ พนักงานต้อนรับสายการบินโอมานแอร์ ในตำแหน่งหัวหน้าลูกเรือ (Cabin Director) ทั้งหมด 2 คน ในตำแหน่งลูกเรือ (Cabin Crew) 10 คน ผลการศึกษา พบว่า 1) การปรับตัวในด้านการทำงานของลูกเรือสายการบินโอมานแอร์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่า ในช่วงแรกยังไม่มีกฎระเบียบการป้องกันอย่างเป็นทางการ ทำให้เกิดความกังวล และความสุขในการทำงานลดลงรู้สึกไม่เท่าเทียม แต่ภายหลังการประกาศกฎเรื่องวิธีการป้องกัน ทำให้รู้สึกว่ามีความปลอดภัย อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับลูกเรือในด้านความปลอดภัยทางด้านสุขอนามัย ทำให้ลูกเรือเกิดความไว้วางใจ และเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กร 2) แนวทางการดำรงชีวิตของลูกเรือสายการบินโอมานแอร์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่า ลูกเรือพยายามปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุขในภาวะวิกฤต โดยพัฒนาให้มีทักษะเพิ่มมากขึ้นเกิดความภาคภูมิใจ ภายหลังทางองค์กรได้มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารและพนักงาน มีการเสนอความคิดเห็นให้ส่งพนักงานในสังกัดเข้าบินร่วมกับสายการบินอื่น ทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้นมากกว่าในช่วงสถานการณ์โควิด  

References

นนทิตา เปรมแปลก. (2565). กลยุทธ์การปรับตัวในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ของธุรกิจ คาเฟ่สัตว์เลี้ยง กรณีศึกษา ธุรกิจร้านอินุคาเฟ่ ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการมนุษย์และ สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 5(1), 116-132.

บุญเรือน ทองทิพย์. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กับศักยภาพของผู้นำต่อการพัฒนาองค์การ แบบ New Normal. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 535-557.

ปกรณ์ อุดมธนะสารสกุล. (2565). อิทธิพลของนโยบายรัฐบาลและการจัดการภาวะวิกฤตที่มีต่อกลยุทธ์การดำเนินงาน ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคบริการในจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงวิกฤต ของโรคระบาดโควิด-19. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(2), 75-92.

พรพิตรา ธรรมชาติ. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงาน และความตั้งใจในการลาออกของผู้แทนขายระดับบังคับบัญชาของกลุ่มบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

International Civil Aviation Organization [ICAO]. (2020). Effects of Novel Coronavirus (COVID‐19) on Civil Aviation: Economic Impact Analysis. เข้าถึงข้อมูล 01/01/2565. จากhttps://www.ica o.int/sustainability/Documents/Covid19/ICAO_coronavirus_Econ_Impact.pdf.

Ministry Of Health [MOH]. (2020). ประกาศยกเลิกเที่ยวบินทั้งขาเข้าและขาออก. เข้าถึงข้อมูล 01/01/2565. จาก https://thaishanghai.thaiembassy.org/th/content/115877-.

omanair. (2565). ข้อมูลและมาตรการในการจัดการสายการบินโอมาณ. เข้าถึงข้อมูล 01/01/1265. จากhttps://www.omanair.com/in/en/oman-air-profile.

Sobieralski, J. B. (2020). COVID-19 and airline employment: Insights from historical uncertainty shocks to the industry. Transportation Research Interdisciplinary Perspectives, 5, 100123.

Thealami. (2565). “โอมานแอร์” รุกขนอาหรับเที่ยวไทย โหมโคโปรโมชั่นสร้างแบรนด์เล็งเปิดบินตรง “ภูเก็ต”. ออนไลน์. เข้าถึงข้อมูล 01/01/2565. จาก http://www.thealami.com/main/content.php ?page=&category=2&id=975.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-19