การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ด้วย กระบวนการสืบเสาะของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ทินกร ไทยเจริญ ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การบริหารเชิงกลยุทธ์; , การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิสูจน์ 3 ประเด็นดังนี้ 1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร 2) การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการสืบเสาะของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการสืบเสาะของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร 6 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงละ 5 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายบริหารวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกรรมการสถานศึกษาผู้เป็นผู้แทนครู รวม 30 คน เครื่องมือได้แก่แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อพิจารณาภาพรวมและรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ การปฏิบัติตามกลยุทธ์ การกำหนดกลยุทธ์ การประเมินและควบคุม และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 2) การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการสืบเสาะของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรสาคร เมื่อพิจารณาภาพรวมและรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ขั้นประเมิน ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นสำรวจและค้นหา ขั้นขยายความรู้ และขั้นอธิบายและลงข้อสรุป                                3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการสืบเสาะของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะคล้อยตามกัน  

References

จิรารัตน์ กระจ่างดี. (2562). การศึกษากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาส ในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ชลธิชา ร่มโพธิ์รี. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2559). นวัตกรรมและสื่อในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 Innovation and Media in Science Teaching and Learning in the 21st Century. Veridian E –Journal, 9(1), 561.

ธัญรชนก บุญส่ง. (2561). ชุดการสอนตามกระบวนการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง งานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2562). เพื่อนคู่คิดครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพ: การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิบูล ทีปะปาล และธนวัฒน์ ทีปะปาล. (2559). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์.

ภวนันท์ชัย สวัสดิ์สละ. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภิรญา ขัตติยะ. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนวัดวังน้ำขาว (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์. (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self Assessment Report : Sar) ปีการศึกษา 2563. สมุทรสาคร: โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์.

โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ. (2562). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self Assessment Report : Sar) ปีการศึกษา 2562. สมุทรสาคร: โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ.

โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ. (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self Assessment Report : Sar) ปีการศึกษา 2563. สมุทรสาคร: โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ.

วาสนาไทย วิเศษสัตย์. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบเปิด รายวิชาการค้นคว้าอิสระ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(3), 248 – 249.

ศิริชัย กาญจนวาสี ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และ ดิเรก ศรีสุโข. (2559). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2555). คู่มือการปฏิบัติงานมาตรฐานกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การแปลงสู่แผนปฏิบัติราชการและการติดตามประเมินผล. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สุพรรณิการ์ พงศ์ผาสุก. (2562). การบริหารการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนวัดสัก (จันทร์ศิริจำเริญประชาสรรค์). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(3), 72.

Cronbach, Lee J. (1974). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row Publisher.

Wheelen, Thomas L., David J. Hunger, Alan N. Hoffman, and Charles E. Bamford. (2018). Strategic Management and Business Policy Globalization, Innovation and Sustainability (15 th ed.). Harlow: Pearson Education Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-20