ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมประมูลหมายเลขทะเบียนรถยนต์นั่ง ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชรัญญา วงษ์อุทัย คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • ผศ.ดร.พิชัย ลัทธศักดิ์ศิริ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • ดร.ธนัตถ์นันท์ สุขโชคนิธิโภคิณ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • พนิดา พนิตธำรง คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์

คำสำคัญ:

ปัจจัย; , การตัดสินใจ; , การประมูล; , รถยนต์นั่งส่วนบุคคล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจในการเข้าร่วมประมูลหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของผู้บริโภค 2) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจเข้าร่วมประมูลหมายเลขทะเบียนรถยนต์จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมประมูลหมายเลขทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคที่เข้าร่วมประมูลหมายเลขทะเบียนรถยนต์ จำนวน 385 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การทดสอบแบบเอฟ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยจูงใจในการเข้าร่วมประมูลหมายเลขทะเบียนรถยนต์อยู่ในระดับมากที่สุด  2) ผู้เข้าร่วมประมูลที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกันมีการตัดสินใจเข้าร่วมประมูลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) ปัจจัยจูงใจด้านการส่งเสริมการตลาด   ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านแรงจูงใจ    มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมประมูลหมายเลขทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของการตัดสินใจเข้าร่วมประมูลหมายเลขทะเบียนรถยนต์ ได้ร้อยละ 29.90

References

เกศกนก วงศ์สำเร็จ. (2560). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการประมูลทะเบียนรถจากกรมการขนส่งทางบกของประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กรมการขนส่งทางบก. (2555). ความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน. กรุงเทพมหานคร: กรมการขนส่งทางบก.

กรเอก กาญจนาโภคิน. (2561). การศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของการประมูลหมายเลขทะเบียนรถ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(3),970-984.

ณัฐธิดา อินต๊ะพรม. (2559). ธุรกิจประกันภัยตามหลักศาสนาอิสลาม (ตะกาฟุล). วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพ.

ดิศรณ์ บัวเวช. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อป้ายทะเบียนประมูลรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่งของผู้บริโภคในจังหวัดนครปฐม. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิตยา ยนจอหอ. (2557). พฤติกรรมของผู้เข้าประมูลหมายเลขทะเบียนรถของสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรรัฐประศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.ชลบุรี.

ราชกิจจานุเบกษา. (2554). ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2554. เล่ม 128 ตอนพิเศษ 51.

Kotler, Philip. (1997). Marketing management : Analysis, Planning, Implementation and Control. 9th ed. Upper Saddle River, New Jersey USA : Prentice-Hall.

Mowen, John C. and Minor, Michael. (1998). Consumer Behavior. 5th ed. Upper Saddle River, New Jersey USA : Prentice-Hall.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2565). กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2565. จาก https://www.popticles.com.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wilay & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31