พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2
คำสำคัญ:
พลังอำนาจ;, มาตรฐานการปฏิบัติงานของครู;, ประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู และ 3) วิเคราะห์พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 จำนวน 1,185 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (proportional stratified random sampling) โดยกระจายจำนวนตามที่ตั้งของอำเภอ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 271 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยมีค่าความตรงด้านเนื้อหาเท่ากับ 0.67 ถึง 1.00 ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามด้านพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.98 และด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย อำนาจอ้างอิง อำนาจทางกฎหมาย อำนาจการให้รางวัล อำนาจความเชี่ยวชาญ อำนาจโดยตำแหน่ง อำนาจส่วนบุคคล และอำนาจการบังคับ ตามลำดับ 2) มาตรฐานการปฏิบัติงานของครู อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย ความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง และชุมชน การจัดการเรียนรู้ และการปฏิบัติหน้าที่ครู ตามลำดับ 3) พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ อำนาจการให้รางวัล (X2) อำนาจโดยตำแหน่ง (X6) และอำนาจอ้างอิง (X5) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู โดยสามารถร่วมกันทำนาย ได้ร้อยละ 44.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสมการวิเคราะห์การถดถอย คือ = 2.20 + 0.28 (X2) + 0.13 (X6) + 0.11 (X5)
References
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2558). ระวังภัยแล้งปี 58 ทำชาวนาเสียหาย 4,000 ล. พาธุรกิจอ่วม.
กระแสทรรศน์. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565, จาก http://marketeer.co.th/2015/03/kresearch-farmer/ 2558)
กรมอุตุนิยมวิทยา. (2553). หนังสืออุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565 จากhttp://tmd.go.th/info/info.php?FildID=71.
กฤตเมธ บุญนุ่ม. (2560). นวัตกรรมทางสังคมความรู้สู่สังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 10(พิเศษ), 245-262.
ไกรฤกษ์ เอี่ยมศร. (2564). สมบัติทางวิศวกรรมของดินซีเมนต์ที่ปรับปรุงด้วย น้ำยางพาราผสมสารผสมเพิ่มที่อุณหภูมิแตกต่างกัน. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
เขมรัฐ เถลิงศรี และคณะ. (2561). โครงการนวัตกรรมทางสังคมเพื่อส่งเสริมวิถี ชีวิตเกษตรกรบนพื้นที่สูงสู่ความยั่งยืน รายงานฉบับสมบูรณ์. สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ฉัตรมงคล สิงหวิบูลย์. (2561). การจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตรกรรมระดับไร่นาตามวิถีชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน. วารสารชลสาร. 7(1), 34-44.
ชนะบูรณ์ อินทรพันธ์. (2563). แนวทางการสร้างนวัตกรรมสังคมเพื่อผู้สูงอายุโดยใช้ทุนทางสังคมในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ชานนท์ โกมลมาลย์. (2561). นวัตกรรมทางสังคม เพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะ โดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: เอซี ปริ้นติ้ง เซอร์วิส.
ชูชิต ชายทวีป. (2559). ปัจจัยสำเร็จของการลดปัญหาความยากจน. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. 3(2), 188-214.
ฐกร กาญจน์จิรเดช, มยุรี รัตนเสริมพงศ์ และ สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนของจังหวัดอุทัยธานี ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(2), 537-552.
ถาวร อ่อนประไพ. (2562). โครงการวิจัยการประเมินศักยภาพเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในระดับท้องถิ่น จังหวัดน่าน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล และคณะ. (2563). การวิเคราะห์การบริหารจัดการน้ำในสภาวะภัยแล้ง ปี พ.ศ. 2563. บทความวิชาการ ด้านการชลประทานและการระบายน้ำ ครั้งที่ 13, 287-308. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย.
นิตยา พากุล, กัญลยา มิยะนา และยศ บริสุทธิ์. (2020). การบริหารจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อทำการเกษตรตลอดปีของชุมชนโคกล่ามแสงอร่าม อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 38(2), 270 – 279.
ประดิษฐ์ เจียรกุลประเสริฐ. (2562). โครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบ้านวังธาร ตำบลเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่:เชียงใหม่.
ประเสริฐศักดิ์ มั่งอะนะ และสุรเชษฐ เวชชพิทักษ. (2563). การสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อแก้วิกฤตขาดแคลนน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านหนองกองเหนือ ตำบลนาบ่อค้า อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 5(3), 133-144.
ปราโมทย์ ไม้กลัด. (2550). การบริหารจัดการทรัพยากรแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (เอกสารโรเนียว).กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มณีรักษ์ กาญจนรางกูร. (2561). การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนภายใต้รูปแบบ "โคก หนองนา โมเดล": พื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักตอนบนในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ภาคภูมิ พันธุ์รัตน์. (2558). ประสิทธิผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตรในเขตลุ่มน้ำชี. วารสารบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2(2), 184-194.
วินัย เชาวน์วิวัฒน์. (2563). การศึกษาสภาพความขาดแคลนน้ำของประเทศไทยจากการจัดทาบัญชีสมดุลน้ำ.
รายงานสรุปผลการจัดสัมมนาวิชาการ. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563.ห้องประชุมแมนดาริน ซี ชั้น 1 โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กรุงเทพฯ. หน้า 28-45.
สังศิต พิริยะรังสรรค์ และ สรชัด สุจิตต์ พิธีกรโดย ณรงค์ฤทธิ์. (2565). รายการเปลี่ยนมุมคิด ประเด็นน้ำท่วม ฝนแล้ง กับทางแก้ที่ไม่มีตอนจบ. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2023. จาก http://www.youtube.com /watch?v=OIFdAVGFjbM
อังกูร แก้วย่อง. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ : โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลุ่มน้ำโก-ลก จังหวัดนราธิวาส. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อารียา ฤทธิมา. (2563). สถานการณ์น้ำต้นทุน การวางแผน และการปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ. รายงานสรุปผลการจัดสัมมนาวิชาการ, สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563.ห้องประชุมแมนดาริน ซี ชั้น 1 โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กรุงเทพฯ. หน้า 46-55.
อุทัย เมี้ยนกลาง, สมนึก เชื้อจันอัด และนิคม อบมาลี. (2565). เกษตรกรผู้ได้รับผลประโยชน์จากฝายหนองแวงโมเดล. คลิปวิดีทัศน์รูปแบบการบริหารจัดการน้ำหนองแวงโมเดล
เอกรัฐ กุศลสูงเนิน. (2563). โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2565. จาก https://sites.google.com/site/ekkaratoh/
Adil Al Radif. (1999). Integrated water resources management (IWRM): an approach to face the challenges of the next century and to avert future crises. Desalination. 1999(1-3), 145-153.
Office of the National Water Resources. (2020). Systematic water resources management information for drought prevention and mitigation B.E.2563 (2020). Office of the Prime Minister. Bangkok.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Journal of Philosophical Vision
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์