การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนวัดหนองจิก สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 1

ผู้แต่ง

  • มธุรส จิตรโรจนรักษ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, ประเทศไทย
  • ผ.ศ.ว่าที่พันตรี.ดร.นพดล เจนอักษร ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนวัดหนองจิก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 2) อันดับความต้องการใน การพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนวัดหนองจิก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรโรงเรียนวัดหนองจิก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 13 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน และครูโรงเรียนวัดหนองจิก 12 คน (ไม่รวมผู้วิจัย) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามแนวคิดของลิม เวอร์เนอร์ และเดอสิโมน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และการจัดอันดับ

  ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนวัดหนองจิก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ก็อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 4 ด้าน โดยเรียงลำดับค่ามัธยฐานจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ คือ ด้านการออกแบบมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการดำเนินการ ด้านการประเมินผล และด้านการประเมินความต้องการ 2) การจัดอันดับความต้องการเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนวัดหนองจิก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 พบว่า การได้รับการสอนงาน เป็นวิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาตนเองที่บุคลากรโรงเรียนวัดหนองจิกเลือกมากที่สุด รองลงมาอันดับที่ 2 คือ การฝึกอบรม อันดับที่ 3 คือ                การดูงานนอกสถานที่ อันดับที่ 4 คือ การฝึกงานกับผู้เชี่ยวชาญ อันดับที่ 5 คือ การให้คำปรึกษาแนะนำ อันดับที่ 6 คือ การได้รับการฝึกอบรมในขณะทำงาน อันดับที่ 7 คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง อันดับที่ 8 คือ การเพิ่มคุณค่าในงาน อันดับที่ 9 คือ การได้รับมอบหมายงาน และอันดับที่ 10 คือ การติดตามและสังเกต

References

จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2556). Human Resource Development. เอกสารประกอบการสอนรหัส 3563404 วิชา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

จีระพันธ์ ยี่สารพัฒน์, คมสันทิ์ ขจรปัญญาไพศาล, และ ธีระ ภูดี. (2557). ความต้องการพัฒนาตนเองในการปฏิบัติงานวิชาการของครูผู้สอน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษกาฬสินธุ์ เขต 1. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์, 1(3), 116-132.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2558). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมล หอมเนียม และ ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนวัดทับกระดาน. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(1), 98-110.

ปาลีภัสร์ ทองขาว, & วรกาญจน์ สุขสดเขียว. (2562). การพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนวัดดอนหวาย (นครรัฐ ประสาท) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2. วารสารการบริหารการ ศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 366-377.

พชร สันทัด และคณะ. (2557). ศาสตร์และศิลป์การบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

มธุรส ทับแสนดี, ชลธี หมุนดี, ดวงฤดี ศรีณรงค์, วิษณุ ปัญญายงค์ และ ธนกร เพชนสินจร. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสถานศึกษา โรงเรียนในศูนย์เครือข่ายห้วยแถลง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. งานประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 7/2561. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 78-88.

รัชพล เชิงชล. (2559). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสถานศึกษาขั้น พื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 16(2), 57-73.

ศิริลักษณ์ เมฆสังข์. (2563). การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล. มหาวิทยาลัยมหิดล: เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาเครือข่ายการบริหารทรัพยากรบุคคล 2/2563.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (2565). แผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2565. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1.

———. (2563). รายงานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำปี 2563.

สุธินี ฤกษ์ขำ. (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักการและการประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gary Dessler. (2014). A Framework for Human Resource Management. 7th ed. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Ghee Soon Lim, Jon M. Werner and Randy L. Desimone. (2013). Human Resource Development for Effective Organizations: Principles and Practices Across National Boundaries. Singapore: New Tech Park: Cengage Learning Asia Pte Ltd.

Hashmi, K. (2014). Human Resource Management Strategies and Teacher's Efficiency within Schools: A Co-Relational Study. IAFOR Journal of Education, 2(1), 65-87.

Lee J. Cronbach. (1984). Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper & Row Publisher.

Rensis Likert. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Readings in Attitude Theory and Measurement. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31