ผลการใช้เทคนิค SQ6R และเอกสารจริงเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • กมลพรรณ ประเสริฐศิลป์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ดร.สรณบดินทร์ ประสารทรัพย์ ภาควิชาการสอนภาษานานาชาติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, เทคนิค SQ6R, เอกสารจริง

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่องผลการใช้เทคนิค SQ6R และเอกสารจริงเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังใช้เทคนิค SQ6R และเอกสารจริง และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการใช้เทคนิค SQ6R และเอกสารจริง กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลวัดเกาะใหญ่ (เลี้ยงล้อมอนุกูล) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 20 คน ที่เรียนในวิชาภาษาอังกฤษ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษ รหัสวิชา อ 16101 โดยใช้เทคนิค SQ6R และเอกสารจริง จำนวน 4 แผน ใช้เวลาในการสอน 4 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ จำนวน 30 ข้อ เพื่อใช้ทดสอบก่อนและหลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เทคนิค SQ6R และเอกสารจริง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ t แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนหลังจากเรียนด้วยเทคนิค SQ6R และเอกสารจริงสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้เทคนิค SQ6R และเอกสารจริง อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรมวิชาการ. (2542). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ไกรคุง อนคัฆกุล. (2558). การอ่านภาษาอังกฤษ:การสอนที่เน้นกลวิธีการอ่าน. วารสารปัญญาภิวัฒน์,7(1), 232-241.

จิตติกานต์ คำมะสอน. (2558). การพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ5R ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม. (2557). การวิเคราะห์ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิชาชีพครู. นครปฐม: มหาวิทยาศิลปากร.

ฐิติยา เชาวน์ชื่น. (2560). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากเอกสารจริง โดยใช้กิจกรรมการอ่านแบบเน้นภาระงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

พรศักดิ์ หนูวงษ์. (2560). การใช้สื่อสภาพจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ความรู้ด้านคำศัพท์และความคงทนในการจำคำศัพท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา. ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม.

รมินตรา วรงค์ปกรณ์. (2559). การใช้สื่อสภาพจริงเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(1), 15-29

สุดารัตน์ สายทอง. (2556). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิค SQ6R เรื่อง Travel around Sisaket สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. เข้าถึง15 เมษายน 2566.จาก http://www.kruwandee.com/print.php?action=print&id=1245&mod ule=forum.

สุพรรณี วราทร. (2545). การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารีย์ ทองเพ็ง. (2556). ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี SQ6R ร่วมกับเทคนิค KWL ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความเข้าใจในการอ่าน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

Avila, M. (2010). Instructional Practices: SQ6R. Retrieved 20 April 2023. From http://web.bcoe .org/minicorps/foreading//index.cfm?

Belet Boyaci, S. D., & Güner, M. (2018). The Impact of Authentic Material Use on Development of the Reading Comprehension, Writing Skills and Motivation in Language Course. International Journal of Instruction, 11(2), 351-368.

Nur’aisyah. (2013). The effect of using SQ6R (Survey, Question, Read, Record, Recite, Review, Reflect, Reshape) Strategy toward reading comprehension of the first year students at SMAN 1 Tempuling District INHIL Redency. Islamic University, Pekanbaru.

Parahita, S. W. (2017). The Implementation of SQ5R Technique in Improving the Students’ Reading Ability at Smpn 8 Malang. Doctoral dissertation. University of Muhammadiyah Malang,

Pauk, M. (1997). SQ5R Study Technique. Retrieved 20 April 2023. From http://www. mhhe.com/cls/psy/ch07 /sq5r. mhtml [7 Januari 2012].

Williams, S. (2005). Guiding Students Through the Jungle of Research-Based Literature. College Teaching, 53(4), 137-139.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31