พันธกิจทางสังคมของคริสตจักรโปรเตสแตนต์กับบทบาทของ โครงการหลวงที่มีต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนในอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อภิวัชร์ ทวีทรัพย์ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ผศ.ดร. สุริยะใส กตะศิลา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

พันธกิจ; , สังคม; , คริสตจักรโปรเตสแตนต์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาพันธกิจทางสังคมของคริสตจักรกะเหรี่ยงแบ๊บติสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ในเขตพื้นที่อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ 2)  เพื่อศึกษาบทบาทของโครงการหลวงที่มีต่อพื้นที่อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อสังเคราะห์นวัตกรรมสังคมและการปฏิสัมพันธ์ของพันธกิจทางสังคมของคริสตจักรกะเหรี่ยงแบ๊บติสต์ นิกายโปรเตสแตนต์กับ  บทบาทของโครงการหลวง และภารกิจของหน่วยงานภาครัฐที่มีผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่  โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบ่งเป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research)  และการวิจัยภาคสนาม (Field Research) โดยใช้เทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)  จำนวน 21 คน  และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation)

          ผลการวิจัย พบว่า พันธกิจทางสังคมของคริสตจักรกะเหรี่ยงแบ๊บติสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ในเขตพื้นที่อำเภอกัลยาณิวัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 1) พันธกิจด้านการศึกษา มิชชันนารีช่วยพัฒนาชาวปกาเกอะญอในอำเภอกัลยาณิวัฒนาให้มีความรู้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2) พันธกิจด้านสุขภาพอนามัย ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ชาวปกาเกอะญอมารับเชื่อ มิชชันนารีมาช่วยดูแลในการรักษาโรคต่าง ๆ และ 3) พันธกิจด้านการส่งเสริมอาชีพ คณะมิชชันนารีแบ๊บติสต์ให้การส่งเสริมอาชีพในเรื่องการเกษตร สำหรับบทบาทของโครงการหลวง ได้แก่ 1) ด้านเศรษฐกิจ การสนับสนุนการปลูกพืชต่างๆ เช่น กาแฟ พืชไร่ปศุสัตว์ และกลุ่มวิสาหกิจแม่บ้านทอผ้า 2) ด้านสังคม กลุ่มต่างๆในพื้นที่ด้านการศึกษา โครงการหลวงได้ทำงานร่วมกับโรงเรียนต่างๆในพื้นที่3) ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาเรื่องน้ำฤดูแล้ง และสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม  และ 4) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การช่วยเหลือโครงการสร้างพื้นฐาน เช่น การทำถนน ไฟฟ้า และประปา ในพื้นที่นำไปสู่การพัฒนาชุมชน ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เดินทางสะดวกขึ้น ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอกัลยาณิวัฒนาจังหวัดเชียงใหม่

References

ประสิทธิ์ พงศ์อุดม. (2527). ประวัติศาสตร์คริสต์ศาสนาในเชียงใหม่.เชียงราย : ฝ่ายประวัติศาสตร์หน่วยงานจดหมายเหตุประวัติศาสตร์และวิจัย สภาคริสตจักรในประเทศไทย.

ปรเมศวร์ ชรอยนุช. (2558). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ตามแนวคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนด์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิสิษฐ์ พงศาปรมัตถ์ และ จิดาภา ถิรศิริกุล (2561). รูปแบบประสิทธิผลการจัดการความรู้ของมูลนิธิโครงการหลวงในการพัฒนาพื้นที่เขตภาคเหนือของประเทศไทย.(วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตสาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยสยาม: มหาวิทยาลัยสยาม.

มาลี สิทธิเกรียงไกร, ประสิทธิ์ ลีปรีชา, และปนัดดา บุณยสาระนัย. (2557). โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษชาติพันธุ์แบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาอ าเภอกัลยาณิวัฒนาจังหวัดเชียงใหม่. ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุภาพสิทธิคงตั้ง. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบุกเบิกคริสตจักรในเครือคริสตจักรแจ่มหลวง. การค้นคว้าอิสระ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคริสต์ศาสนศาสตร์). วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี มหาวิทยาลัยพายัพ: มหาวิทยาลัยพายัพ.

สํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ. (2565).ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2565 จากhttp://www.rdpb.go.th/TH/

Alakeson, V., Aldrich, T., Goodman, J., Jorgensen, B., & Miller, P. (2003) Social responsibility in the information society. final report digital europe: e-business and sustainable development. Lund, Sweden: Lund University.

Geoff Mulgan, Simon Tucker, Rushanara Ali, and Ben Sanders. (2007). Social innovation what it is, why it matters and how it can be accelerated The Young Foundation.London: The Basingstoke Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-29