การส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาลด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ประกาศิต ชัยรัตน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
  • พระสุทธิสารเมธี, ผศ.ดร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การดำเนินชีวิต; , ตำรวจสันติบาล; , พุทธจริยศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล 2) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ในการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล 3) เพื่อบูรณาการการส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาลด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เรื่อง “การส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล ด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์” โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยรับราชการตำรวจ จำนวน 6 คน นักวิชาการผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 6 รูป/คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 12 รูป/คน  แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สังเคราะห์เป็นข้อมูลนำเสนอ 

ผลจากการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล ให้ตำรวจมีการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น มีระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด มีจริยธรรมตำรวจ และวิธีการเสริมสร้างจริยธรรมตำรวจ ให้มีหลักในการครองตน ด้วยการดำเนินชีวิตอย่างรอบคอบและไม่ประมาท การครองคน ให้ดำเนินชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข การครองงาน ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ได้สมบูรณ์และบรรลุเป้าหมาย  2) พุทธจริยศาสตร์ในการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล ได้แก่ หลักเบญจศีล-เบญจธรรม สิ่งที่ควรเว้นและธรรมที่ควรปฏิบัติ หลักสังคหวัตถุ 4 ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์กัน หลักอิทธิบาท 4 คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ 3) การส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาลด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์ พบว่า การดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาลใช้หลักเบญจศีล-เบญจธรรมในการครองตน ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการครองคน ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการครองงาน โดยบูรณาการกันในการส่งเสริมด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์ทั้ง 3 ประการมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต 4) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้เรียกว่า “SPJ MODEL” S มาจาก Good Self ครองตนดี ตำรวจสันติบาลจะครองตนที่ดีจะต้องยึดมั่น ทำให้มีความสุขกายสุขใจ P มาจาก S Good People หมายถึง ครองคนดี ตำรวจสันติบาล มีธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์กัน, ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน หลักการครองใจคน และ J มาจาก Good Job หมายถึง ครองงานดี ตำรวจสันติบาลต้องมีความอดทน ความเพียรพยายาม ความจริงใจต่อประชาชน

References

จํานง อดิวัฒนสิทธิ์. (2543). ศาสนา ชีวิต และสังคม. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์. (2558). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาตัวแบบจริยธรรมของข้าราชการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, รัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2545). การบริหารงานตำรวจ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์.

พันตำรวจตรี พรหม วุฒิวิวัฒน์ชัย. (2545). พรหมวิหาร 4 กับการปฏิบัติหน้าที่ตามอุดมคติตำรวจศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลดุสิต. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

พันตำรวจโท วิจิตร์ ซาติกิจเจริญ. (2543). การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของตำรวจในการปฏิบัติหน้าที่ ศึกษาเฉพาะกรณีตำรวจภูธร จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระครูปลัดสุวัฒนเมธาคุณ (ชัยยันต์ สืบกระพันธุ์). (2556). บูรณาการหลักพุทธจริยศาสตร์ในการดำเนินชีวิตของคนไทยในสังคมปัจจุบัน. ดุษฎีนิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาชัชวาลย์ ฐิตคุโณ (จารย์คุณ). (2561). ศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมในการดำเนินชีวิตของเศรษฐีในสมัยพุทธกาล. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พลตำรวจโท สถาพร หลาวทอง. (2544). โครงการตำรวจยิ้ม. กรุงเทพมหานคร: ตำรวจไทย.

วศิน อินทสระ. (2541). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ทองกวาว.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2553). ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ.2553. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2567. สืบค้นจาก http://www.thakham.metro.police.go.th/jyt.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30