แนวทางการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโรงเรียนบ้านคาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี

ผู้แต่ง

  • อนุพงษ์ ตาบสกุล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ผศ.ดร.นุชนรา รัตนศิระประภา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การดำเนินการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโรงเรียนบ้านคาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี 2) แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโรงเรียนบ้านคาวิทยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ประชากรคือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนบ้านคาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบถามความความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโรงเรียนบ้านคาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1) ด้านการปฏิบัติการนิเทศ 2) ด้านการวางแผนการนิเทศ 3) ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ 4) ด้านการประเมินผลและรายงานผล 5) ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือนิเทศ 2. แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโรงเรียนบ้านคาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี 1) สนับสนุน ส่งเสริมให้คณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนรวบรวมปัญหาการจัดการนิเทศภายในโรงเรียนอย่างจริงจังและเป็นระบบ 2) สนับสนุน ส่งเสริมให้คณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนนำเอานโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี มาเป็นแนวทางในการวางแผนการนิเทศภายในโรงเรียน 3) กำหนดให้จัดทำคู่มือการนิเทศภายในโรงเรียนเพื่อให้เข้าใจถึงขอบข่ายของการนิเทศภายในโรงเรียน 4) สนับสนุน ส่งเสริมให้คณะกรรการนิเทศภายในโรงเรียนได้พัฒนาความรู้เกี่ยวกับการสร้างสื่อและเครื่องมือเทศต่าง ๆ 5) กำหนดให้มีการทดลองใช้สื่อและเครื่องมือนิเทศ ประเมินผลการใช้สื่อและเครื่องมือการนิเทศเพื่อหาข้อบกพร่อง ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องก่อนนำเครื่องมือนิเทศไปใช้ปฏิบัติการนิเทศ 6) กำหนดให้มีการนิเทศภายในอย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง 7) ให้ครูและบุคลากรมีส่วนร่วมในการประเมินผลการนิเทศว่าการดําเนินงานนิเทศภายในที่ผ่านมาประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ 8) ประชุมครูและบุคลากรเพื่อวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงงานนิเทศภายในโรงเรียน เพื่อพัฒนาการนิเทศในครั้งต่อไป

References

กำชัย ยุกติชาติ, และ นุชนรา รัตนศิระประภา. (2021). การดำเนินการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานของโรงเรียนอนุบาลวัดลูกแกประชาชนูทิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(2), 17-34.

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2565). ผลของการนิเทศโดยวิธี Coaching ในการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาสำหรับนักศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยคริสเตียน. วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 12(2), 1-22.

ภูมิพัฒน์ ตระกูลทัศน์เจริญ, เปรื่องกิจ รัตน์ภร, ภาณุพงศ์ สามารถ, & เกรียงไกร โพธิ์มณี. (2562). ยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะในงานของผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี. Phranakhon Rajabhat Research Journal: Humanities and Social Sciences, 14(1), 223-235.

ภูมิพัฒน์ รัดอัน, อัจฉรา นิยมาภา, กานดา สกุลธนะศักดิ์ มัวร์. (2564). แนวทางการนิเทศภายในวิถีใหม่ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตลุ่มน้ำปาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(37), 253-262.

วรดนู หนูทอง, & ประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2564). กระบวนการนิเทศการศึกษาของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายบางแพ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 2. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(1), 1-17.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.

สุนารี ศรเพ็ชร. (2564). แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนสหวิทยาเขตปรางค์กู่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28. Education journal Faculty of Education, Nakhon Sawan Rajabhat University, 4(3), 57-68.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116, ตอนที่ 74 ก. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116, ตอนที่ 74 ก, (19 สิงหาคม 2542).

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134, ตอนที่ 40 ก (6 เมษายน 2560).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค ก.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: หน่วยศึกษานิเทศก์.

อนุศิษฏ์ นากแก้ว. (2564). การนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การการศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(6), 85-96.

Likert, R. (1992). New Pattern of Management. New York: McGraw-Hill.

Starratt, R. J. (2005). Responsible Leadership. The Educational Forum, 69(2), 124-133. Taylor & Francis Group.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30