การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนของครูผู้สอน โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูใบฎีกา ชลากร อตฺถกาโร (โพธิธีรบุตร) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ดร.พันธุ์ธัช ศรีทิพันธุ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การปลูกฝัง;, คุณธรรมจริยธรรม;, ครูผู้สอน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนของครูผู้สอน                     2) เปรียบเทียบการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนของครูผู้สอน ที่มีเพศ อายุ และประสบการณ์ในการสอนต่างกัน 3) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนของครูผู้สอน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน จำนวน 125 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงพรรณนาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า 1) การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนของครูผู้สอนโรงเรียนอนุบาลจันทบุรี ด้านการอบรมสั่งสอน ด้านการจัดกิจกรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก และด้านจัดสถานที่และสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง  2) ผลการเปรียบเทียบการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนของครูผู้สอน จำแนกตามเพศ อายุ ไม่แตกต่างกัน ส่วนประสบการณ์ในการสอน แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนของครูผู้สอน ในประเด็นโรงเรียนควรมีการปรับปรุงการจัดกิจกรรม และกำหนดแผนปฏิบัติงานให้ชัดเจน เพื่อเน้นการอบรมคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียน

References

นิรุทธ์ น่วมรัศมี และดำรงค์ เบญจคีรี. (2565). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 13(2), 3.

พรพิทักษ์ เห็มบาสัตย์ และวรรณพล พิมพะสาลี. (2563). แนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทย. การบริหารรัฐกิจและการเมือง, 9(2), 67.

พระครูเวฬุวนาภิรมย์. (2565). การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของสถาบันครอบครัวใน ตำบลคลองตาคต อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. สหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 5(1), 28.

พัฒนา หนองทุ่ม. (2559). บทบาทของครูในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนเอกชนในเครือมูลนิธิไทไชโย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. สำนักนายกรัฐมนตรี. สืบค้น 21/02/2556. จาก: https://www.bic.moe.go.th/images/ stories/5Porobor._2542pdf.pdf

วราภรณ์ คําบุญเรือง และสุนทรโคตรบรรเทา. (2565). ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนของโรงเรียนคลองใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(3), 130.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30