การบริหารราชการแบบบูรณาการในการพัฒนาหัตถกรรมดั้งเดิม เพื่อความเข้มแข็งของชุมชน
คำสำคัญ:
การบริหารราชการแบบบูรณาการ;, การพัฒนาหัตถกรรมดั้งเดิม;, ความเข้มแข็งของชุมชน;, ภูมิปัญญาท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มแข็งของชุมชนที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมดั้งเดิมของชุมชนศรีสุพรรณ จังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนบ้านไผ่หนอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และชุมชนเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อศึกษาการบริหารราชการแบบบูรณาการในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมดั้งเดิมของไทย ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนในชุมชน รวม 45 คน
ผลการวิจัยพบว่าความเข้มแข็งของภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมดั้งเดิม เกิดจาก องค์ความรู้จากบรรพบุรุษ ที่ผ่านการศึกษาด้วยการทดลองทำ และถ่ายทอดสืบต่อกันมาผ่านปราชญ์ชาวบ้าน และความเข้มแข็งของชุนชน เกิดจากการพึ่งพาตนเองโดยผ่านการสนับสนุนจากภาครัฐทั้งด้านการผลิต การปรับประยุกต์และพัฒนาให้ทันสมัย ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่า สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความสุขและความภาคภูมิใจให้กับคนในชุมชน ส่งผลให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน นอกจากนี้พบว่าแนวทางการบริหารราชการแบบบูรณาการในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมดั้งเดิม เกิดจากการที่ภาครัฐให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการพัฒนา ได้แก่ 1) การสร้างกลไกส่งเสริมให้ตัวแทนกลุ่มต่างๆ เข้ามาร่วมอย่างเป็นทางการ 2) การปรับหน่วยงานภาครัฐ วิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยงานให้มีการทำงานแบบเครือข่าย 3) พัฒนาความเป็นผู้นำให้กับภาคประชาชน สร้างทักษะการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารจัดการ 4) การประเมินผลการปฏิบัติงานจากการทำงานร่วมกับประชาชน เพื่อให้บรรลุผลตามยุทธศาสตร์ มุ่งสู่ผลสำเร็จและเป้าหมายของงานร่วมกัน
References
กรมการพัฒนาชุมชน.กระบวนการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ.กรุงเทพมหานคร : กรุงสยามการพิมพ์, 2562.
กรมศิลปากร, ทฤษฎีและแนวปฏิบัติการอนุรักษ์อนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี, กรุงเทพมหานคร : เอกสารโบราณคดี, 2540.
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร. การบริหารรแบบมีส่วนร่วม. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ,2552.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา กิตติ ตันไทย วัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชน ภาคใต้ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์ จำกัด, 2560.
ประเวศ วะสี.การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม. แห่งชาติ,2534.
พัชรี สิโรรส. “พลวัต นโยบายสาธารณะ จากรัฐ เอกชน สู่ประชาชน, 2551.
ศุภชัย ยาวะประภาษ.นโยบายสาธารณะ.(2552) สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
เสรี พงศ์พิศ. ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : อัมรินทร์พริ้นติ้ง, 2536
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. “เอนกทรรศน์ พิจารณาสังคมไทย ด้วยภูมิปัญญา ความหวัง และกำลังใจ.” สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560.
_______________ (2552) แปรถิ่น เปลี่ยนฐาน สร้างการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานของประชาธิปไตย (พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Cohen,J.M&.&uphoff N.T(1980) Clg&o.paurtions plauee in rural development:seehing Clarity through speeifieitiy.Worid Developament,8,213-235
Grenier Louise .Population and Development in Thailand. Regional Institute of Higher Education Republic of Singapore,1996.
Briker F floke. John J. Clark. Management in the public service : The quest for effective Performance. New York : McGraw-Hill, 1954.
Koontz, H. Managrment : A System and Contingency Analysis of Management Frunction. 6th ed. New York : McGraw – Hill, 1976.
Newstrom, J.W. and Davis, K. Human Behavior at Work : OrganizationalBehavior. 7th. Ed.New York : McGraw – Hill Book Company, 1993.
Philip, H. Development Dilemmas in Rural Thailand. Oxford : Oxford University Press, 1990.
Price.A. Human Resource Management. In a Business Context. 2 edition. London : Thomson Leaming, 2004.
William V. Holloway. State and Local Government in the United States. New York : McGraw-Hill, 1959.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์