วิเคราะห์หลักสมาธิในพุทธศาสนาเถรวาท
คำสำคัญ:
สมาธิ;, เถรวาท;, วิมุตติบทคัดย่อ
การศึกษาวิเคราะห์หลักสมาธิในพุทธศาสนาเถรวาทในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักสมาธิแบบอื่นๆ และศึกษาหลักสมาธิในพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อวิเคราะห์หลักสมาธิในพุทธศาสนาเถรวาท เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยใช้พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย พ.ศ.2539 เป็นเอกสารปฐมภูมิ ในการศึกษาสมาธิแบบอื่นๆ พบว่าสมาธิในศาสนาต่างๆ มีความคล้ายกันคือเน้นที่ศรัทธา ด้วยการสวดภาวนาคำสอน คำสรรเสริญ มีสมาธิอยู่กับพระเจ้า เทพเจ้า มีการนำสมาธิมาปรับใช้กับศาสตร์อื่นๆ เช่นนำหลักสติปัฏฐาน 4 มาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ เพื่อช่วยลดสภาวะทางอารมณ์อันไม่พึงประสงค์ต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสุขในการดำเนินชีวิต
จากการศึกษาพบว่าหลักสมาธิในพุทธศาสนาเถรวาทมีองค์ธรรมที่สำคัญคือโพธิปักขิยธรรม (ธรรมเพื่อการบรรลุอริยมรรค) ได้แก่ สติปัฏฐาน 4, สัมมัปปธาน 4, อิทธิบาท 4, อินทรี 5, พละ 5, โพชฌงค์ 7, มรรคมีองค์ 8 มีวิธีปฏิบัติมากถึง 40 วิธี (กัมมัฏฐาน 40) หลักการปฏิบัติใช้กระบวนการไตรสิกขา คือพัฒนากายให้บริสุทธิ์ด้วย “ศีล” พัฒนาจิตให้เป็นสมาธิด้วยสมถะภาวนาจนเกิด “ฌาน” และพัฒนาปัญญาด้วยวิปัสสนาภาวนาจนเกิดความรู้แจ้ง “ปัญญาญาณ” สมาธิทำให้องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ (โพชฌงค์) สมบูรณ์ และมีแนวปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ครบถ้วน เป้าหมายหลักในการปฏิบัติสมาธิทั้งสมถะและวิปัสสนาคือการบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ (เจโตวิมุติ และปัญญาวิมุตติ) ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของสมาธิในพุทธศาสนาเถรวาท คือเป็นการปฏิบัติเพื่อมุ่งหวังความสุขในระดับโลกกุตระ บรรลุวิมุติ เข้าสู่ “นิพพาน”
References
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (2539), มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระพุทธโฆสเถระ. (2562). คัมภีร์วิสุทธิมรรค (สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) แปล) พิมพ์ครั้งที่ 14. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤดิ์ : พิมพ์ในประเทศจีน
พระ ดร.พี. วชิรญาณมหาเถระ. (2504). สมาธิในพุทธศาสนา. (ชูศักดิ์ ทิพย์เกสร รศ แปลจากหนังสือ Buddhist Mediation). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระราชวรมุนี (ประยุทธิ์ ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 9, ฉบับปรับปรุงและขยายความ, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
แพทย์พงศ์ วรพงศ์พิเชษฐ์ นพ. (2539). การเจริญสติบำบัด. เอกสารเผยแพร่กองการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
คณะกรรมการศาสนาศิลปะวัฒนธรรม. (2562). รายงานการศึกษาการเสนอให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสมาธิโลก, (พิชิต ควรเดชะคุปต์ ประธานคณะกรรมาธิการศาสนาศิลปะ วัฒนธรรม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ 26 เมษายน 2562)
Marcus Aurelius. (2006). Meditation (e-book) http://en.wikipedia.org/wiki/Meditation. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2565
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์