ความก้าวหน้าที่เปลี่ยนสายอาชีพนิเทศศาสตร์ในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พิชชาญา เจียมกิจวัฒนา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ผศ.ดร.รัตนพงษ์ สอนสุภาพ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

เทคโนโลยี; , สังคมออนไลน์; , นิเทศศาสตร์; , จังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการก่อตัวของ Disruptive Technology ส่งผลต่อความมั่นคงในสายอาชีพนิเทศศาสตร์ในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจาก Disruptive Technology ต่อการเปลี่ยนแปลงสายอาชีพนิเทศศาสตร์ในจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาการปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดจากผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสายอาชีพนิเทศศาสตร์ในจังหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ 1) กลุ่มประกอบอาชีพ/ตำแหน่ง ที่เกี่ยวข้องกับสายนิเทศศาสตร์ในระดับองค์กร 2) กลุ่มสถาบัณฑิตที่จบจากคณะนิเทศศาสตร์และนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะนิเทศศาสตร์ 3) กลุ่มประกอบอาชีพรับจ้างอิสระ ที่เกี่ยวข้องกับสายนิเทศศาสตร์ จำนวนทั้งสิ้นรวม 15 คน เครื่องมือการวิจัยที่สำคัญคือ การสัมภาษณ์แบบเฉพาะเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับองค์กรไม่ได้เป็นผลกระทบ แต่ผู้ประกอบการจะต้องมีการพัฒนาองค์กร ตามทันกระแส 2) ระดับสถาบันการศึกษา เกิดผลกระทบอย่างหนัก ในด้านหลักสูตรการศึกษา 3) ระดับปัจเจกบุคคล ผลกระทบหลักคือการตามกระแสไม่ทัน สุดท้ายผลกระทบที่มาจาก Disruptive Technology สิ่งที่ควรทำคือการ “เข้าใจ ปรับตัว และเปลี่ยนแปลง”

References

ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช (2558). นวัตกรรมสื่อดิจิทัลใหม่สำหรับนิเทศศาสตร์. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง (2562).การเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมพื้นฐานและโครงสร้างพื้นฐาน ของโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง.วารสารวิชาการด้านความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. สืบค้นจาก https://so05.tcithaijo.org/index.php/ratthapirak/issue/view/15557

พงษ์ วิเศษสังข์ (2562). ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจให้นักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสาขาวิทยุกระสายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

ศรีบวช เอี่ยมวัฒน์. (2561). แนวโน้มของ Disruptive Technology และความเป็นไปได้ของรูปแบบ ธุรกิจอนาคตของเครื่องถ่ายเอกสารในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

หนึ่งหทัย ขอผลกลาง (2545). แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อรอุมา เจริญสุข (2564). บทเรียนด้านการผลิตบัณฑิตหลักสูตรนิเทศศาสตร์ในยุคดิจิทัล. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

อวยพร พานิช (2562). ทิศทางวิชาชีพ แนวโน้มของหลักสูตรการโฆษณาการประชาสัมพันธ์และ ความคาดหวังในการศึกษาต่อหลักสูตรนิเทศศาสตร์ยุคพลิกผัน. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, กรุงเทพฯ.

เอกณรงค์ วรสีหะ (2544). ศึกษาความต้องการและความคาดหวังของผู้ประกอบการสายสื่อสารมวลชนที่มีต่อบัณฑิตนิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-01