ทุนท้องถิ่นกับการการขับเคลื่อนสมุทรปราการสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่
คำสำคัญ:
ทุนท้องถิ่น;, การขับเคลื่อนจังหวัดสมุทรปราการ;, เมืองน่าอยู่บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของเมืองสมุทรราการในสถานะความเป็นเมืองน่าอยู่ 2) เพื่อศึกษาทุนท้องถิ่นและพลังการขับเคลื่อนทุนท้องถิ่นให้สมุทรปราการเป็นเมืองน่าอยู่ และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางของการขับเคลื่อนเมืองสมุทรปราการให้เป็นเมืองน่าอยู่ โดยศึกษาจากเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวนรวม 16 คน
ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะของเมืองน่าอยู่ของสมุทรปราการ ประกอบด้วย 1) มีสาธาร ณูปโภคพื้นฐานดี การจราจรสะดวก มีโครงสร้างพื้นฐานดี 2) มีเศรษฐกิจดี มีรายได้ดี มีการจ้างงานที่ดี ค่าครองชีพไม่สูงมากเกินไป 3) มีสภาพทางสังคมที่ดี มีความปลอดภัยต่อชีวิตสูง 4) เมืองที่มีสภาพแวดล้อมดี มีความสะอาด มีมลพิษน้อย มีพื้นที่สีเขียวเพียงพอ 5) มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและทางประวัติศาสตร์ ในขณะที่ทุนท้องถิ่นและการบริหารจัดการภาครัฐท้องถิ่นที่เป็นพลังในการขับเคลื่อนให้สมุทรปราการเป็นเมืองน่าอยู่ประกอบด้วย 1) ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาท้องถิ่น 2) ระบบการจัดการเมืองที่ดีโปร่งใสและเป็นธรรมตรวจสอบได้ และ 3) ภาคประชาสังคมที่เข้มแข็งประชาชนมีสำนึกในความเป็นพลเมือง มีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบต่อการบริหารจัดการบ้านเมือง สิ่งที่ยังเป็นจุดที่ต้องพัฒนาของความเป็นเมืองน่าอยู่คือการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดดำรงตำแหน่งในระยะเวลาสั้น เป็นปัญหาที่ควรต้องพิจารณาในการบริหารการปกครอง และประเด็นการใช้งบประมาณขององค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นจะต้องมีคุณธรรมและการบริหารจะต้องมีธรรมาภิบาล มีการใช้งบประมาณที่ขาดความคุ้มค่า นอกจากนั้นการกระจายอำนาจเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นให้ตรงกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นเป็นข้อเสนอของผู้ให้ข้อมูลสำคัญในงานวิจัยนี้
References
ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: อมรินทร์
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
ทวีศักดิ์ นพเกสร. (2548). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เล่ม 1. นครราชสีมา: โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง จำกัด.
Kennett, P. (2010). Global Perspectives on Governance. In The New Public Governance?
: Emerging Perspectives on the Theory and Practice of Public Governance. Stephen P. Osborne (ed.). London: Routledge.
Kooiman, J. (1999). Social-political Governance: Overview, Reflections and Design.
Public Management Review. 1(1)
Loffler, E. (2005). “Governance and Government: Networking with External Stakeholders”,
in Public Management and Governance, Tony Bovaird and Elke Loffler (eds.)
London: Taylor & Francis Group.
Rhodes, R. A. W. (1997). Understanding governance: Policy networks, governance and
accountability. Buckingham: Open University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์