พระคเณศ: นวัตกรรมสังคมบนความศรัทธา
คำสำคัญ:
พระคเณศ; , สัญญะ; , นวัตกรรมสังคม; , ความหลากหลายบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและรวบรวมคติความเชื่อ พิธีกรรม และวิเคราะห์การดำรงอยู่ของคติความเชื่อเกี่ยวกับพระคเณศ 2) ศึกษานวัตกรรมสังคมทางความเชื่อของพระคเณศ 3) วิเคราะห์ความหลากเลื่อนในศรัทธาที่มีต่อพระคเณศ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก มีผู้ให้ข้อมูลหลักรวม 15 คน
ผลการวิจัยพบว่า คติความเชื่อ พิธีกรรม และนวัตกรรมสังคมทางความเชื่อของพระคเณศ สามารถสะท้อนผ่านงานประติมากรรม และพิธีคเณศจตุรถี ที่ก่อให้เกิดกระแสนิยม วัตถุมงคล ภาพวาด และการสร้างพระพิฆเนศปางต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานทางวัฒนธรรมกันอย่างกลมกลืน โดยสัญญะแห่งความสำเร็จ และการนับถือพระคเณศเกิดจากการประกอบสร้างความหมายจากคนในสังคมผ่านพิธีกรรม บทสวด การบูชาฯลฯ ภายใต้วัฒนธรรมของพื้นที่นั้น ๆ แม้สังคมไทยจะมีพระพุทธศาสนาเป็นแกนกลางของความเชื่อ งานวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์การรื้อสร้างแนวคิดที่สมาทานพระพุทธศาสนา และสร้างความหมายของพระคเณศขึ้นมาใหม่ โดยเป็นเทพที่ขออะไรก็ได้ และเป็นเทพแห่งความสำเร็จ จะเห็นได้ว่าพระพุทธศาสนากับพระคเณศมีความเป็นคู่ตรงข้ามที่ไม่มีความขัดแย้งกัน ชาวไทยพุทธสามารถอยู่ระหว่างความเชื่อทั้งสองสิ่งได้อย่างกลมกลืน ดังนั้นแม้สังคมไทยจะนับถือศาสนาพุทธแต่ด้วยความไม่มั่นคงของสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในปัจจุบัน ทำให้คนในสังคมกลัวความไม่แน่นอน ความเชื่อและความศรัทธาจึงเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลในการเป็นที่พึ่งให้กับชีวิต ก่อให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและความศรัทธาในพระคเณศ ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางสังคมซึ่งได้รับพัฒนาขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ และช่วยแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของสังคม
References
กิตติ วัฒนะมหาตม์. (2540). ตรีเทวปกรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์.
กิตติพงศ์ บุญเกิด. (2552). โครงการสุภยาตรา บูชาพระพิฆเนศวร์ 3 วัฒนธรรม 4 เทวสถาน.
กรุงเทพมหานคร : ม.ป.พ.
จิรัสสา คชาชีวะ. (2540). พระพิฆเนศวร์ คติความเชื่อและรูปแบบของพระพิฆเนศวร์ที่พบใน
ประเทศ ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977).
สุรศักดิ์ ทอง. (2553). สยามเทวะ. กรุงเทพฯ: มติชน.
Bourdieu, P. (1997). The forms of Capital in Halsey, A.H., lauder, P. Brown and A.S. Wells (eds).
Education: Culture. Economy, Society. Oxford: Oxford University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์