ราชประศาสนศาสตร์ของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
คำสำคัญ:
ราชประศาสนศาสตร์;, หลักการทรงงาน;, นักราชประศาสนศาสตร์;, ภาวะผู้นำบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พระราชกรณียกิจด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 2) หลักการทรงงานของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในฐานะนักราชประศาสนศาสตร์ และ 3) ภาวะผู้นำของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในฐานะนักราชประศาสนศาสตร์ เก็บข้อมูลจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เป็นผู้ที่มีบทบาทและทำงานเกี่ยวกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หรือส่วนงานที่เกี่ยวข้อง 5 คน และวิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นที่ค้นพบ
ผลการวิจัยพบว่า พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเสด็จทอดพระเนตรการทำงานของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงปฏิบัติงานตรวจรักษาราษฎรในพื้นที่ที่ทรงเสด็จเยี่ยม และทรงมีพระกรณียกิจในต่างประเทศ เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางด้านวิชาการกับสถาบันชั้นนำของนานาประเทศ ทั้งด้านการวิจัย การศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข หลักการทรงงานของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงปฏิบัติต่อข้าราชการ นักธุรกิจ ประชาชน และนักบวช พระองค์จะทรงแยกเป็นส่วน และทรงช่วยเหลือตามความต้องการ ทรงใช้ความเมตตาต่อบุคคลที่ทำงานกับพระองค์ ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจให้ครอบคลุมทุกด้าน และทรงใส่พระทัยทุกเรื่อง จากหลักการทรงงานและพระราชกรยณียกิจของพระองค์ทรง พอกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงเป็นผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ทรงเป็นผู้นำที่เป็นผู้ช่วยเหลือ ทรงมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และทรงเป็นผู้นำเชิงจริยธรรม
References
กรุงเทพธุรกิจ. (กุมภาพันธ์ 2564). กรมพระศรีสวางควัฒนฯ ทรงเป็นประธานในการประชุมกรรมการบริหารสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ครั้งที่ 1/2564. ค้นเมื่อ 09/03/2564 จาก จาก www.bangkokbiznews. com>news>detail/924623.
คึกฤทธิ์ ปราโมช. (2525). ลักษณะไทย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์. (2564). ประวัติวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564. จาก https://www.pccms.ac.th/
วารสารมูลนิธิจุฬาภรณ์. (กรกฎาคม 2562). องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ทรงนำนักวิจัยประสบความสำเร็จอีกขั้นจากห้องปฏิบัติการผลิตยาชีววัตถุ “รักษาโรคมะเร็งเต้านม” สู่ “การผลิตระดับโรงงานต้นแบบ”. ปีที่ 8 หน้า 6. จาก www.cri.or.th.
สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรมน ไทยเกษม. (2558). การพัฒนาแบบวัดภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้ประกอบการในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 20(2), 59-61.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2561). ราชาธิปไตย : ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ สถาบันพระมหากษัตริย์ และสังคม-การเมืองไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณ.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. การสื่อสารส่วนบุคคล. 11 สิงหาคม 2562.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2563). พระมหากษัตริย์กับความเป็นไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังปัญญา ด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.
Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper & Row.
Conger, J. A., & Kanungo, R. N. (1987). Toward a behavioral theory of charismatic leadership in organizational settings. The Academy of Management Review, 12(4), 637–647.
Greenleaf, R.K. (1977). Servant Leadership: A Journey into the Nature of Legitimate Power and Greatness. New York: Paulist Press.
Henry, N. (2010). Politics beyond the state: Europe as civilization and as empire. Comparative European Politics, 8, 262-280.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์