การพัฒนาศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การพัฒนา;, ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต;, ส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความร่วมมือเชิงบูรณาการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการของภาครัฐในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวนรวม 24 คน จากพื้นที่ เทศบาลตำบล 3 แห่ง เทศบาลเมือง 3 แห่ง และเทศบาลนคร 3 แห่ง
ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนาศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุของประเทศไทย เกิดจากการร่วมมือทำงานแบบบูรณาการของ 3 ภาคส่วนซึ่งได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม หลักการในการมีส่วนร่วมลักษณะของขั้นบันได (Ladder of Citizen Participation) ได้แก่ 1) ขั้นการควบคุม (Manipulation) 2) ขั้นการรักษา (Therapy) 3) ขั้นการให้ข้อมูล (Informing) 4) ขั้นการรับฟังความคิดเห็น (Consultation) 5) ขั้นการปรึกษาหารือ (Placation) 6) ขั้นการเป็นหุ้นส่วน (Partnership) 7) ขั้นมอบหมายอำนาจ (Delegation) และ 8) ขั้นอำนาจของประชาชน (Citizen Control) โดยมีการขับเคลื่อนที่สำคัญคือการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM ) ซึ่งมีหลักการว่าประชาชนถูกมองว่าเป็น "ลูกค้า" และข้าราช การถูกมองว่าเป็นผู้จัดการสาธารณะ มาใช้ในการพัฒนาผู้สูงอายุ ผ่านศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) โดยนำแนวทางหรือวิธีการบริหารงานของภาคเอกชนมาปรับใช้กับการบริหารงานภาครัฐ ในการบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ การคำนึงถึงหลักความคุ้มค่า การจัดการโครงสร้างที่กระทัดรัดและแนวราบเพื่อมุ่งเน้นการให้บริการแก่ประชาชนโดยคำนึงถึงคุณภาพเป็นสำคัญ
References
Barzelay (2001). The New Public Management: Improving Research and Policy Dialogue. Russell
Sage Foundation.
Farazmand, Ali (2006). New Public Management. Handbook of Globalization, Governance, and
Public Administration: 888.
Farazmand, Ali (2006). New Public Management: Theory, Ideology, and Practice. Handbook of
Globalization, Governance and Public Administration.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์