แนวทางส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

บุญรอด บุญเกิด
พิชญรัตน์ เหมนาไลย

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี เปรียบเทียบการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของผู้สูงอายุ โดยจำแนกตามสถานภาพภูมิหลัง และหาแนวทางส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี ได้มาโดยวิธีการสุ่มจากประชากรแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง .31 - .80 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเปรียบเทียบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ใช้วิธีการสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี กำหนดผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


  1. ระดับการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

  2. เปรียบเทียบการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรีโดยรวม เมื่อจำแนกตามเพศ และจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามภูมิลำเนา และจำแนกตามรายได้ พบว่า ผู้สูงอายุมีการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ไม่แตกต่างกัน

  3. แนวทางส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี พบว่า ควรให้ความสนใจกับการพัฒนาและส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของผู้สูงอายุทั้ง 5 ข้อ ซึ่งรูปแบบและวิธีการส่งเสริมควรจะมีความหลากหลายโดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับช่วงอายุที่แตกต่างกันของผู้สูงอายุ อาจอยู่ในรูปแบบของกิจกรรม/โครงการ กระบวนการกลุ่ม การศึกษาดูงาน การให้รางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่ผู้สูงอายุที่ปฏิบัติดี และการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับศีล 5 เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าใจเกี่ยวกับศีล 5 อย่างถูกต้อง สิ่งสำคัญที่มีส่วนส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 สำหรับผู้สูงอายุ คือ

                1) ตัวผู้สูงอายุ ต้องเป็นผู้ที่ตระหนักและเห็นความสำคัญของศีล 5 มีความพร้อมและความสนใจที่จะเข้าร่วมทุกๆ กิจกรรม


                2) นโยบายและการให้การสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง


                3) ความร่วมมือกันทำงานพัฒนาผู้สูงอายุในท้องถิ่น ระหว่างบ้าน วัด และหน่วยงานภาครัฐ ที่ต้องทำงานในลักษณะบูรณาการและร่วมมือกันอย่างแท้จริง การส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของผู้สูงอายุควรเป็นการประสานความร่วมมือกันในทุกๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันส่งเสริม โดยเริ่มจากหน่วยงานที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุมากที่สุด คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.dop.go.th/upload/knowledge/knowledge_th_20163105110238_1.pdf. [2560, มกราคม, 27].

กิตติภัต วิยาภรณ์. (2553). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวจิตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม. 3(1), 23-24.

บุญรอด บุญเกิด และคณะ. (2559). การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสังคมและจิตใจของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี โดยใช้หลักไตรสิกขา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 10(4), 44-55.

พัชรินทร์ รุจิรานุกูล และธันวดี ดอนวิเศษ. (2560). แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 25(49), 269-289.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และคณะ. (2544). รายงานการวิจัยเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทยในประเด็นการเกื้อหนุนทางสังคมแก่ผู้สูงอายุ: พื้นที่ศึกษาในเขตภาคใต้. (เอกสารอัดสำเนา).

ศิรางค์ ทับสายทอง.(2533). จิตวิทยาผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชลบุรี. (2559). จำนวนประชากร จำแนกตามช่วงอายุ ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.). ชลบุรี: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชลบุรี.

สุมาลี สังข์ศรี. (2540). การศึกษานอกโรงเรียนสำหรับผู้สูงอายุ โดยประยุกต์ใช้วิธีการศึกษาทางไกล.กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุรกุล เจนอบรม. (2541). วิทยากรผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวรีย์ ตะโพนทอง และคณะ. (2548). พฤติกรรมการนำศีล 5 ไปใช้ในชีวิตประจำวันของนิสิตนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษารัฐบาล ในกรุงเทพมหานคร. (เอกสารอัดสำเนา).

Best and Kahn James V. (1993). Research in Education. (7th ed). Boston: Allyn and Bacon.

Cronbach, L.J. (1990). Essential of Psychological testing. (5th ed). New York: Haper Collins.

Yamane, Taro. (1970). Statistics: And Introductory Analysis. (2nd ed). New York: Harper & Row.