ปัจจัยการบริหารวิชาการที่ส่งผลต่อการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการบริหารวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ที่เข้าร่วมโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ 2) ศึกษาระดับการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ และ 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยการบริหารวิชาการที่ทำนายผลการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ที่เข้าร่วมโครงการ“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” จำนวน 24 โรงเรียน รวม 309 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentages) ค่าเฉลี่ย (Means) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviations) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Correlation Coefficients) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบลำดับขั้น (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1) โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ที่เข้าร่วมโครงการ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” มีระดับปัจจัยการบริหารวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านคุณลักษณะของครูผู้สอนที่ดีมีระดับปัจจัยการบริหารวิชาการมากกว่าด้านอื่น รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ด้านบรรยากาศของโรงเรียน ด้านการจัดการงบประมาณในการบริหารวิชาการ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา ด้านกระบวนการบริหารวิชาการ ด้านความพร้อมของสถานที่ และด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
2) โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ที่เข้าร่วมโครงการ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” มีระดับการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบาย ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยของระดับการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้สูงที่สุด รองลงไปตามลำดับคือ ด้านโครงสร้างเวลาเรียนและตารางเรียน ด้านการดำเนินการกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการดำเนินการเกี่ยวกับสื่อและแหล่งการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล
3) สมการพยากรณ์การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ที่เข้าร่วมโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (Y) จากปัจจัยการบริหารวิชาการ (X) ด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านกระบวนการบริหารวิชาการ (X3) ด้านความพร้อมของสถานที่ (X4) ด้านบรรยากาศของโรงเรียน (X5) ด้านคุณลักษณะของครูผู้สอนที่ดี (X7) และด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (X8) ซึ่งสามารถพยากรณ์การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ได้ร้อยละ 74.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นดังนี้
สมการพยากรณ์ ในรูปคะแนนดิบ คือ
= 0.277 + 0.173X3 + 0.173 X4 + 0.125 X5 + 0.211 X7 + 0.239 X8
สมการพยากรณ์ ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ
= 0.185 X3 + 0.1727X4 ++ 0.123X5 + 0.209 X7 + 0.291 X8
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
จุฑามาศ สุธาพจน์. (2558). แนวทางการบริหารกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2.ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ชาตรี มีแย้มภักดิ์. (2556).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นภดล พลเยี่ยม. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
นิตยา แสนสุข. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปวีนา เหล่าลาด. (2557).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิจิตรา พาพุทธ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองบัวลำภู เขต 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2543). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา: เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559) การขับเคลื่อนนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้: จำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. [อินเทอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 28 ต.ค. 2559]. http://mcmk.obec.go.th/
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิก จำกัด.
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). รายงานการดำเนินงานโครงการ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ปีการศึกษา 2558.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียนตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สุขคะเสริม สิทธิเดชและธร สุนทรายุทธ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม ปีที่ 9 ฉบับที่ 1.
สุชาดา ถาวรชาติ. (2559).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Likert, R. (1967). The Human Organization: Its Management and Value. Tokyo: McGraw–Hill Kogakusha.