ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อตราสินค้าเฮาส์แบรนด์ ในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน

Main Article Content

ภัทรินทร์ มรรคา
วิญญู วีรยางกูร
ดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อตราสินค้าเฮาส์แบรนด์ในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน คือจังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 220 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามจำนวนประชากรผู้บริโภคในแต่ละจังหวัด จากผู้ที่เคยใช้สินค้าเฮาส์แบรนด์หลังจากนั้นจะเลือกวิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป


                        ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ตัวแปรจงรักภักดีตราสินค้า พบว่า ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากความตระหนักตราสินค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าและตัวแปรความเชื่อถือตราสินค้า และยังได้รับอิทธิผลทางอ้อมจากความตระหนักตราสินค้าและภาพลักษณ์ตราสินค้า ผ่านความเชื่อถือตราสินค้า และ พบว่า ตัวแปรความเชื่อถือตราสินค้า ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากความตระหนักตราสินค้า และภาพลักษณ์ตราสินค้า และยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากความตระหนักตราสินค้า ผ่านภาพลักษณ์ตราสินค้า นอกจากนี้ตัวแปรภาพลักษณ์ตราสินค้าได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากความตระหนักตราสินค้า โดยที่ความตระหนักตราสินค้าไม่ส่งผลต่อความเชื่อถือตราสินค้า และภาพลักษณ์ตราสินค้าไม่ส่งผลต่อความจงรักภักดีตราสินค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย. (2559).รายได้ของครัวเรือน จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ของภาคใต้ ปี 2558. กรุงเทพฯ : กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

กิตติชัย ศรีชัยภูมิ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ของลูกค้าวิสาหกิจขนาดเล็กกับความภักดีต่อตราสินค้าของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เซปิง ไชยสาสน์. (2559). กลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาดและการบริหารจัดการเพื่อสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าไทย : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ Hermes Marketing Communication Strategies to Influence Brand Image Product Hermes. ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

นงลักษณ์ วิรัชชัย.(2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ปิยะวรรณ พุ่มโพธิ์. (2542). ความภักดีต่อตราสินค้า การขยายตราสินค้า และการประเมินของผู้บริโภคต่อปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการขยายตราสินค้า. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (การโฆษณา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทวัส ชัยปาณี. (2546). "Brand Building Through Consume Insight" สร้างแบรนด์. กรุงเทพฯ : ทิปปิ้ง พอยท

ศศิวิมล สุขบท. (2550). การตลาดระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุศิษฎา อินทรา. (2551). การสื่อสารตราสินค้ากับความแข็งแกร่งของตราสินค้า “ดอยคำ”. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

หมะหมูด หะยีหมัด. (2555). ความภักดีต่อตราสินค้าในมิติเชิงทัศนคติและมิติเชิงพฤติกรรม. ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อนุศาสตร์ สระทองเวียน. (2553). ธุรกิจค้าปลีก ประเทศไทย. วารสารนักบริหาร. 30 (3) : 134-142.

Aaker, D. A. (1991). Managing brand equity: Capitalizing on the value of a brand name. New York : The Free Press.

-------. (1996). Measuring brand equity across products and markets. California Management Review. 38(3) : 102-120.

Bitner, M.O. (1995). Building service relationships: it’s all about promises. Journal of the Academy of Marketing Science. 23 : 246–251.

Bowen, J. T., Shoemaker, S. (2003). Loyalty: A strategic commitment. Cornell Hotel and Restaurant Administration Quarterly, 44(5/6) : 31−46.

Brashear, T.G., Boles, J.S., Bellenger, D.N. and Brooks, C.M. (2003). An empirical test of trust-building processes and outcomes in sales manager-salesperson relationships. Journal of the Academy of Marketing Science. 31(2) : 189-200.

Davis, D.F. Golicic, S.L. & Marquardt, A.J. (2007). Branding a B2B service: Does a brand differentiate a logistics service provider? Industrial Marketing Management. 37(2) : 218- 227.

Doney, P.M, & Cannon, J.P. (1997). An Examination of the nature of trust in buyer-seller relationships. Journal of Marketing. 61(2) : 35-51.

Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (6 ed.). Upper Saddle River, New Jersey : Prentice Hall.

Hsieh, M. H., Pan, S. L., & Setiono, R. (2004). Product-, corporate-, and country-image dimensions and purchase behavior: A multicountry analysis. Journal of the Academy of Marketing Science. 32(3) : 251–270.

Keller, K. L. (1993). Conceptualizing, measuring, and managing customer-based brand equity. Journal of Marketing. 57 : 1-22.

Kotler, P. (1999). “Principles of Marketing” (Second European Edition). Milan : Prentice Hall Europe.

Lindeman RH, Merenda PF, Gold RZ (1980).Introduction to Bivariate and Multivariate Analysis. Scott, Foresman, Glenview, IL.

Moorman, C., R. Deshpande and G. Zaltman. (1993). Factors Affecting Trust in Market Research Relationships. Journal of Marketing. 57(January) : 81-101.

Morgan, R.M. and Hunt, S.D. (1994). The commitmenttrust theory of relationship marketing. Journal of Marketing. 58(3) : 20-38.

Nielsen Company. (2010). The Nielsen Company Reports Third Quarter 2010 Results. [Online]Available:https://www.nielsen.com/us/en/press-room/2010/the-nielsen-companyreportsthirdquarter 2010 results.html (2018, August 22)

Pedhazur, E. J. (1997).Multiple regression in behavioral research (3rd ed.). Orlando, FL: Harcourt Brace.

Stephen L. Sondoh Jr. (2007). The Effect of Brand Image on Overall Satisfaction and Loyalty Intention in the Context of Color Cosmetic.Asian Academy of Management Journal. 12(1).

Webster, F. and Keller, K. L. (2004). “A Roadmap for Branding in Industrial Markets,” Journal of Brand Management. 11(5) : 388-402.