ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ 2.เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ 3. เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่กลุ่มตัวอย่างการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ จำนวน 259 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น ด้านปัจจัย เท่ากับ 0.88 และด้านการบริหารงานวิชาการเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรวมพบว่าใน ระดับมาก
2. การบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ทั้ง 6 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านงานประกันคุณภาพการศึกษา ด้านงานวัดผลและประเมินผล
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการโดยรวมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านสภาพการดำเนินงานของครูผู้สอน (x2) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน (x4) ด้านสภาพการดำเนินงานของผู้บริหาร (x1) ด้านงบประมาณ (x3) ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถทำนายได้ร้อยละ 54.30 โดยมีสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
Y = 0.743 + 0.423( ) + 0.176( ) + 0. .103( ) + 0. .104( )
หรือ สมการถดถอยพหุคูณมาตรฐาน
= 0.423( )+ 0.256( ) + 0.171( ) + 0.148( )
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จุไรรัตน์ สุดรุ่ง. (2539). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานวิชาการโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญ กรณีศึกษาโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทานในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสาตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุไรรัตน์ เอิบกมล. (2546). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ตอการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ประถมศึกษาสังกัดสานักงานการประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์ ค.ม. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ฉัตราภรณ์ สถาปิตานนท์. (2550). ปัจจัยที่สงผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับรางวัลพระราชทานสังกัดสานักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ชุลีรุ่ง พานิช.(2552). ปัจจัยที่สงผลตอประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2540).การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรัตน์ พลบุรี. (2551).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำพู.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพ : ข้างฟ่าง.
ธำรง บัวศรี.(2542). ทฤษฎีหลักสูตรและการออกแบบพัฒนา. กรุงเทพฯ : ธนวัชการพิมพ์.
นราลักษณ์ ขันธรูจี. (2548).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารวิชาการของโรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นอุดรธานีเลยและหนองคาย.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. เลย : สถาบันราชภัฏเลย.
นิตยา แสนสุข.(2556).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปวีนา เหล่าลาด. (2557).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพมหานคร.
พระมหาบุญเสริมธมฺมทินฺโนทองศรี. (2554) ปัจจัยและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนป้อมนาคราชสวาทยานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มนูญ พันธ์หล่อ.(2553).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่มที่ 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.
รุ่งรัชดาพร เวหชาติ.(2551).การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา :นาศิลป์โฆษณาจำกัด.
วันเพ็ญบุรี สูงเนิน. (2552).ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิราณี มะแอ.(2554).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศสวนกุหลาบวิทยาลัยปทุมธานีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2542).มุ่งสู่คุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). (2556). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.กรุงเทพฯ : สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. (2558). แบบรายงานข้อมูลสารสนเทศปีการศึกษา 2558. กระบี่ : กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. (2558). แบบรายงานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียน ปีการศึกษา 2558 กระบี่ : กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 - 2554 ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545 - 2559. กรุงเทพมหานคร.:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
อนุศักดิ์ สมิตสันต์.(2540). การบริหารวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาการบริหาร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (บางเขน).