การศึกษากลุ่มชนพื้นเมือง กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ สู่งานสร้างสรรค์ระบำชาติพันธุ์อันดามัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการศึกษากลุ่มชนพื้นเมือง กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ สู่งานสร้างสรรค์ระบำชาติพันธุ์อันดามัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา วิถีชีวิตและเครื่องแต่งกายของชาติพันธุ์ซาไก ชาวเลและบาบ๋า 2) เพื่อการประยุกต์รูปแบบพิธีกรรมและเครื่องแต่งกายของชาติพันธุ์บาบ๋า ชาวเล ซาไก สู่งานสร้างสรรค์ระบำชาติพันธุ์อันดามัน ขอบเขตของพื้นที่วิจัยคือ บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี จังหวัดพังงา บริเวณเกาะศรีบอยา จังหวัดกระบี่ บริเวณแหลมตุ๊กแกและย่านเมืองเก่า จังหวัดภูเก็ต โดยใช้เป็นกรณีศึกษาแบบเจาะจง การศึกษาข้อมูลการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย การศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มย่อยจำนวน 3 ครั้ง โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ครูภูมิปัญญาแห่งชาติ ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น กรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต และอาจารย์สาขาวิชาศิลปะการจัดการแสดง เพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับการศึกษากลุ่มชนพื้นเมือง กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ สู่งานสร้างสรรค์ระบำชาติพันธุ์อันดามัน พร้อมทั้งนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการบรรยายอย่างละเอียด
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชาติพันธุ์ซาไก เป็นกลุ่มชนที่อาศัยในป่าลึก มีแหล่งน้ำ ดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าและล่าสัตว์ ลักษณะรูปร่างเตี้ย ผิวดำ ริมฝีปากหนา ท้องป่อง น่องสั้นเรียว ผมหยิกคล้ายก้นหอยติดหนังศีรษะ มีความเชื่อในภูตผีปีศาจ การแต่งกายที่สำคัญนิยมใช้ใบไม้ เปลือกไม้หรือตะใคร่น้ำที่เป็นแผ่นขนาดใหญ่มาผึ่งแสงแดดให้แห้งสนิทจึงนำมาถักเป็นเครื่องนุ่งห่ม สตรีซาวซาไกนุ่งยาวถึงหัวเข่าหรือบริเวณน่อง ใช้ผ้าคาดอกหรือเปลือยอก บุรุษนุ่งสั้นบริเวณหัวเข่าและเปลือยอก ส่วนเด็กเล็กจะไม่สวมเครื่องแต่งกาย 2) ชาติพันธุ์ชาวเล เป็นกลุ่มชนที่เดินทางอพยพเร่ร่อนทางทะเลเร่ร่อนอาศัยบนเรือไม้ระกำ ดำรงชีวิตด้วยการเก็บหาของป่าและล่าสัตว์ทะเล การแต่งกายที่สำคัญผู้ชายสวมผ้าขาวม้าหรือสวมกางเกงกางเกงเล ผ้าขาวม้าคาดเอว เปลือยท่อนบน ผู้หญิงนุ่งผ้าปาเต๊ะกระโจมหน้าอก แต่เมื่อมีการติดต่อธุระนอกชุมชนผู้หญิงนิยมสวมเสื้อและนุ่งผ้าปาเต๊ะแบบชาวจีนและชาวไทยนิยมสวมเสื้อผ้าสีฉูดฉาด 3) ชาติพันธุ์บาบ๋า เป็นลูกผสมโดยบิดาเป็นหนุ่มอพยพจากประเทศจีนและสมรสกับหญิงพื้นเมืองชาวภูเก็ต เป็นกลุ่มชนที่มีความมัธยัสถ์สามารถสร้างเนื้อสร้างตัวจนเป็นเศรษฐี การแต่งกายที่สำคัญบุรุษนิยมแต่งกายแบบสากล สตรีนิยมแต่งกายโดยผสมผสานเครื่องแต่งกายระหว่างไทยพุทธ ไทยจีนและไทยมุสลิม 2) ผลจากการประชุมกลุ่มย่อย พบว่า กลุ่มผู้รู้และผู้ปฏิบัติ มีแนวคิดร่วมกันโดยสรุปด้านการพัฒนารูปแบบเครื่องแต่งกายของกลุ่มชนดังกล่าว สู่งานสร้างสรรค์ระบำชาติพันธุ์อันดามัน โดยเป็นการพัฒนาบนพื้นฐานการอนุรักษ์ เหล่านี้สามารถส่งผลด้านการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต โดยทั้งนี้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมต้องวางแผนและดำเนินการอย่างจริงจัง อีกทั้งสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มชนต่างๆ ซึ่งเป็นการสร้างสัมพันธภาพเชิงบวกทั้งภายในภูมิภาคและระหว่างภูมิภาค อีกทั้งด้านการผลิตสินค้าโดยหน่วยงานด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นสามารถส่งเสริมและสนับสนุนด้านการสร้างเศรษฐกิจระดับจุลภาคซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืนได้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
จุติกา โกศลเหมมณี. รูปแบบและแนวความคิดในการสร้างสรรค์งานาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยของนราพงษ์ จรัสศรี. ศิลปนิพนธ์ ศป.ด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. “แนวทางการปฏิรูป การท่องเที่ยวไทย,” การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 6 ตุลาคม 2557. http://www.tatreviewmagazine.com/web/menu-read-web-etatjournal/menu-2014/menu-2014-oct-dec/615-42557-reform> 24 ธันวาคม 2557.
ทานตะวัน เอียดจุ้ยและหนึ่งฤทัย ช่วยเนียม. รูปแบบความเป็นผู้ถ่ายทอดการรำโนราห์ กรณีศึกษา : โนราห์ครื้น เอียดจุ้ย. ศิลปะนิพนธ์ คบ. ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 2552.
“บิ๊กตู่ ต่อยอดความสำเร็จสตาร์ทอัพสู่เมืองภูเก็ต,” เดลินิวส์. 21 กันยายน 2559. หน้า 14.
พรหมภัสสร จรจรัญฐานพงศ์. “พรีเมี่ยม เดสติเนชั่น...Visioning Phuket,” ในภูเก็ตบลูลาติน ฉบับที่ 14. 2558. หน้า 54 – 57.
ภคพร หอมนานและวิชชุตา วุธาทิตย์. นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยโพสต์โมเดอร์ดานซ์ (Post-Modern Dance) ชุด อ้างว้าง โดย นราพงษ์ จรัสศรี. ศิลปนิพนธ์ ศป.ม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.
ยุทธพงษ์ ต้นประดู่. มานิกลุ่มคนชายขอบ : การประยุกต์สู่งานแสดงเชียร์ลีดเดอร์. ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 2562.
วิกรม กรุงแก้วและยุทธพงษ์ ต้นประดู่. การพัฒนารูปแบบผ้าพื้นเมืองภูเก็ต สู่นาฏยศิลป์ร่วมสมัย. ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 2560.
สารภี เอกน้ำเพชร. การพัฒนาเครื่องแต่งกายของวงดรีลูกทุ่งเพื่อสร้างเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมของภาคใต้. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2557.
“สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หัวใจแห่งความยั่งยืนของชุมชน GI Market 2016,” ฐานเศรษฐกิจ. 25 – 28 กันยายน 2559. หน้า 9.
สุรสิทธิ์ วิเศษสิงห์. อรรถรสในนาฏศิลป์ผ่านนาฏกรรมแนวใหม่ เรื่อง นารายณ์อวตาร. ศิลปนิพนธ์ ศป.ด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.
อาภรณ์ อุกฤษณ์. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศกับสังคมและวัฒนธรรมของซาไก : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ซาไกกลุ่มเหนือคลองตง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง. กระทรวงวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536.
_______. พิธีลอยเรือ : ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมของชาวเล กรณีศึกษาชุมชนบ้านหัวแหลม เกาะลันตา จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2532.
_______. พลวัตการปฏิสัมพันธ์และชาติพันธุ์ธำรงของชาวเกาะลันตา จังหวัดกระบี่.กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, 2554.