การปฏิบัติตามมาตรฐานสากลของ FATF ในการต่อต้านการฟอกเงินโดยอาศัย Bitcoin

Main Article Content

ปฐมพงษ์ รัตนพันธุ์

บทคัดย่อ

ปัญหาการฟอกเงินเป็นปัญหาที่กระทบต่อระบบเศรษฐกิจของโลก รัฐทุกรัฐในประชาคมระหว่างประเทศต้องให้ความสำคัญ และสร้างมาตรการที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินร่วมกัน อีกทั้งเพื่อแสดงออกถึงภาพลักษณ์ที่ดีของรัฐ เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการคุ้มครองเงินทุน อันเป็นปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน และทำให้ระบบเศรษฐกิจทั้งภายในและระหว่างประเทศเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการเงินพัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะบล็อกเชน และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากอย่างบิทคอยน์ กฎหมายเกี่ยวกับการต่อต้านการฟอกเงินจึงจำเป็นต้องมีความพลวัต และสามารถปรับใช้กับสถานการณ์การนำบิทคอยน์ไปใช้เป็นช่องทางในการฟอกเงินได้ เนื้อหาในบทความนี้เป็นการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการต่อต้านการฟอกเงิน โดยเปรียบเทียบกับมาตรการเกี่ยวกับการต่อต้านการฟอกเงินที่เกี่ยวกับธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลของประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของปัญหา และวิเคราะห์พันธกรณีของประเทศไทยต่อกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศดังกล่าว รวมถึงวิเคราะห์ความสอดคล้องของการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลของประเทศไทย นอกจากนี้บทความนี้ยังให้ตัวอย่างปัญหาในทางปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้นกับการสร้างมาตรการต่อต้านการฟอกเงินโดยอาศัยคริปโทเคอร์เรนซี โดยผลของการวิจัยพบว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล อันเป็นการกำกับดูแล และคุ้มครองการลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซีระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดียังคงมีบางประเด็นที่ยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลซึ่งเป็นข้อแนะนำของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน จึงมีข้อเสนอให้มีการร่างกฎหมายเพิ่มเติมโดยอาศัยกฎหมายต้นแบบเกี่ยวกับธุรกิจเงินเสมือนของสหรัฐอเมริกาเป็นข้อความคิดพื้นฐาน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Anning, P., Hoegner, S., & Brito, J. (2015). The Law of Bitcoin. iUniverse.

Apaiyanukorn, P. (2015). Anti-Money Laundering Against Virtual Currency in Case of Using Bitcoin. [Master’s thesis, Thammasat University]. Thammasat University.

Bit Investment. (2021). EP501 Many ways to own Bitcoin, how do you find it? Let's share. Retrieved May 17th, 2019, from https://www.youtube.com/watch?v=NpmXRcyQVXM

Boonborwornrattanakul, P. (2018). The Study of "Form" and "Control" of The Utilization of Cryptocurrency For Money Laundering Protection. [Master’s thesis, Thammasat University]. Thammasat University.

Bowtakul, K. (2001). Measures to Prevent and Combat Money Laundering Derived from Corruption Offenses. [Master’s thesis, Chulalongkorn University]. Chulalongkorn University.

Financial Action Task Force (FATF). (2014). Virtual Currencies: Key Definitions and Potential AML/CFT Risks. (n.p.).

Financial Action Task Force (FATF). (2019). Guidance for a Risk-Based Approach Virtual Assets and Virtual Asset Service Providers. (n.p.).

Inland Revenue Authority of Singapore. (2020). Income Tax Treatment of Virtual Currencies. Retrieved May 17th, 2019, from https://www.iras.gov.sg/irashome/uploadedFiles/IRASHome /e-Tax_Guides/etaxguide_CIT_Income%20Tax%20Treatment%20of%20Digital%20Tokens.pdf

Japan’s Payment Services Act (PSA). (2016). (n.p.).

Kawachart, P. (2014). Decentralized Virtual Currency on The Internet. [Master’s thesis, Thammasat University]. Thammasat University.

Kharpal, A. (2019). Bitcoin value rises over $1 billion as Japan, Russia move to legitimize cryptocurrency. Retrieved May 17th, 2019, from https://www.cnbc.com/2017/04/12/ bitcoin-price-rises-japan-russia-regulation.html.

Kowpatanakit, P., Bunaramrueang, P., Eiamchamroonlarp, P., Chaidejsuriya, J., & Mongkolvitt, P. (2018). The Project on Digital Assets Law Enforcement. Chulalongkorn University.

Nakamoto, S. (2008). Bitcoin: A Peer-to-Peer Electronic Cash System. Retrieved May 17th, 2019, from https://bitcoin.org/bitcoin.pdf

Reuters. (n.d.). ADVISORY-References to bitcoin as ‘legal tender’ in Japan. Retrieved May 17th, 2019, from https://www.reuters.com/article/idUKL3N1OD35L?edition-redirect=uk

Sakkosol, C. (2001). Money Laundering : A Case Study Comparing Between The Thai Laws and United Nations Convention Against Transnational Organized Crime. [Master’s thesis, Chulalongkorn University]. Chulalongkorn University.

Sooksena, N. (2017). Digital Currency Regulatory Measures and Thai Laws Applicable to Cryptocurrency: Bitcoin. [Master’s thesis, National Institute of Development Administration]. National Institute of Development Administration.

Srisanit, P. (2018). Advanced Criminal Law. (2nd ed). Winyuchon.

Thai Government. (2020). Summary of important works of the Anti-Money Laundering Office (Anti-Money Laundering Office) on prevention troubleshooting Providing services to people in various fields and improving and developing the country. Retrieved February 16th, 2019, from https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน.pdf

Thailand Emergency Decree on Digital Asset Business Operation. (2018). (n.p.).

Umeda, S. (2019). Regulation of Cryptocurrency: Japan. Retrieved May 17th, 2019, from https://www.loc.gov/law/help/cryptocurrency/japan.php

Watcharaprida, R. (2004). United Nations Convention against Transnational Organized Crime. [Master’s thesis, Thammasat University]. Thammasat University.